Page 319 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 319
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
307
(๕) ให้ความเห็นต่อรัฐมนตรี เพื่อวางระเบียบปฏิบัติราชการในการประสานงานกับสำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และกระทรวง ทบวง กรมอื่น
(๒๒)
(๖) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครอง
ซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๔
(๒๓)
(๖/๑) ให้ความเห็นชอบต่อรัฐมนตรีในการออกประกาศตามมาตรา ๒๖/๒ (๓) มาตรา ๒๖/๔ (๑)
และมาตรา ๒๖/๕ (๒) และปฏิบัติการตามมาตรา ๒๖/๖ และมาตรา ๕๘/๒
(๖/๒) ให้ความเห็นชอบต่อผู้อนุญาตในการอนุญาตให้ผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๕ ตามมาตรา ๒๖/๒ (๑) และ (๒)
(๖/๓) ให้ความเห็นชอบในการออกกฎกระทรวงตามมาตรา ๒๖/๕ (๗)
(๖/๔) ประกาศกำหนดลักษณะกัญชง (Hemp) ตามมาตรา ๒๖/๒ (๒)
(๒๔) (๗) ปฏิบัติการอื่นตามที่พระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นบัญญัติให้เป็นอำนาจและหน้าที่ของคณะ
กรรมการ หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย
มาตรา ๑๔ คณะกรรมการอาจตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการอย่างใดอย่างหนึ่ง ตามที่
คณะกรรมการจะมอบหมายก็ได้
การประชุมของคณะอนุกรรมการ ให้นำมาตรา ๑๒ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
หมวด ๒
การขออนุญาตและการออกใบอนุญาตเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
(๒๕) มาตรา ๑๕ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
ในประเภท ๑ เว้นแต่รัฐมนตรีได้อนุญาตเฉพาะในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ
การขออนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
(๒๖)
การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๑ ตามปริมาณดังต่อไปนี้
ให้สันนิษฐานว่าเป็นการผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
(๑) เด็กซ์โตรไลเซอร์ไยด์ หรือ แอล เอส ดี มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ศูนย์จุดเจ็ดห้า
มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิ
ตั้งแต่สามร้อยมิลลิกรัมขึ้นไป
(๒) แอมเฟตามีนหรืออนุพันธ์แอมเฟตามีน มีปริมาณคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่สามร้อยเจ็ดสิบห้า
มิลลิกรัมขึ้นไป หรือมียาเสพติดที่มีสารดังกล่าวผสมอยู่จำนวนสิบห้าหน่วยการใช้ขึ้นไปหรือมีน้ำหนักสุทธิ
ตั้งแต่หนึ่งจุดห้ากรัมขึ้นไป
(๒๒)
ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
(๒๓)
(๖/๑) (๖/๒) (๖/๓) และ (๖/๔) ของมาตรา ๑๓ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) มาตรา ๕
(๒๔) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๗ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
(๒๕) ข้อความเดิมถูกยกเลิกโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๘ และให้ใช้ข้อความที่พิมพ์ไว้นี้แทน
(๒๖)
มาตรา ๑๕ วรรคสสาม แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๖๐ มาตรา ๓
��� 6���.P302-391.indd 307 3/4/20 5:47:46 PM