Page 322 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 322

310        สำนักงาน ป.ป.ส.


                        (๓๒) 
มาตรา ๒๓  ใบอนุญาตตามมาตรา ๑๗ มาตรา ๒๐ มาตรา ๒๖/๒ (๑) และ (๒) และมาตรา ๒๖/๓
               ให้ใช้ได้จนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคมของปีที่ออกใบอนุญาต ถ้าผู้รับใบอนุญาตประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต
               ให้ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุ เมื่อได้ยื่นคำขอแล้วจะประกอบกิจการต่อไปก็ได้จนกว่าผู้อนุญาตจะสั่ง
               ไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตนั้น
                     ถ้าผู้รับอนุญาตไม่ขอต่ออายุใบอนุญาตหรือผู้อนุญาตสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตตามความใน
               วรรคหนึ่ง บรรดายาเสพติดให้โทษที่ผู้รับอนุญาตหรือผู้ขอต่อใบอนุญาตมีอยู่ในครอบครองให้ตกเป็นของ
               กระทรวงสาธารณสุข โดยกระทรวงสาธารณสุขให้ค่าตอบแทนตามที่เห็นสมควร

                     การขอต่ออายุใบอนุญาตและการอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด
               ในกระทรวงกระทรวง
               
     มาตรา ๒๔  ใบอนุญาตตามมาตรา  ๒๐  และมาตรา  ๒๒  ให้คุ้มกันถึงลูกจ้างหรือตัวแทนของ
               ผู้รับอนุญาตด้วย
                     ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า การกระทำของลูกจ้างหรือตัวแทนของผู้รับอนุญาตที่ได้กระทำไปตามหน้าที่
               ที่ได้รับมอบหมาย เป็นการกระทำของผู้รับอนุญาตด้วย
               
     มาตรา ๒๕  ผู้รับอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้ให้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยยา

               และกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทอีก
                        (๓๓) 
มาตรา ๒๖  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต จำหน่าย นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษ
               ในประเภท ๔ เว้นแต่รัฐมนตรีจะได้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเป็นราย ๆ ไป
                     การมียาเสพติดให้โทษในประเภท ๔ ไว้ในครอบครองมีปริมาณตั้งแต่สิบกิโลกรัมขึ้นไปให้สันนิษฐานว่า
               มีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
                     การขออนุญาตและการอนุญาตให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง
                        (๓๔) 
มาตรา ๒๖/๑  ปริมาณยาเสพติดให้โทษที่จะอนุญาตได้ตามหมวดนี้ให้เป็นไปตามมาตรา ๘ (๕)
                        (๓๕) 
มาตรา ๒๖/๒ ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๕ เว้นแต่ในกรณี
               ดังต่อไปนี้

                     (๑)  ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ของทางราชการ การแพทย์ การรักษาผู้ป่วย หรือการศึกษาวิจัย
               และพัฒนา ทั้งนี้ ให้รวมถึงการเกษตรกรรม พาณิชยกรรม วิทยาศาสตร์ หรืออุตสาหกรรม เพื่อประโยชน์
               ทางการแพทย์ด้วย ซึ่งได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
                     (๒) ในกรณีที่เป็นกัญชง (Hemp) ซึ่งเป็นพืชที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp.
               sativa  และมีลักษณะตามที่คณะกรรมการกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา  ซึ่งได้นำไปใช้
               ประโยชน์ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้กระทำได้เมื่อได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของ
               คณะกรรมการ

                     (๓)  ในกรณีที่เป็นการนำติดตัวเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรไม่เกินปริมาณที่จำเป็นสำหรับใช้
               รักษาโรคเฉพาะตัว โดยมีใบสั่งยาหรือหนังสือรับรองของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม
               ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์หรือหมอพื้นบ้าน

               (๓๒)  
 วรรคหนึ่ง ของมาตรา ๒๓ แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๗
               (๓๓)    มาตรา ๒๖ แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๘
               (๓๔)    มาตรา ๓๓ แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๑
               (๓๕)    มาตรา ๒๖/๒ มาตรา ๒๖/๓ มาตรา ๒๖/๓ มาตรา ๒๖/๕ และมาตรา ๒๖/๖ เพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ
                    (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๙







       ��� 6���.P302-391.indd   310                                                                3/4/20   5:47:50 PM
   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326   327