Page 321 - รวมกฎหมายยาเสพติด 2563
P. 321

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. ๒๕๒๒
  309


                     
    
   (ก)  มีถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย
                              (ข)  ไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่ากระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ
                     กฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท กฎหมายว่าด้วยการป้องกันการใช้สารระเหย กฎหมาย
                     ว่าด้วยมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด  และกฎหมายว่าด้วยยา
                              (ค)  ไม่อยู่ระหว่างถูกสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ใบอนุญาต
                     เป็นผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
                     การสัตวแพทย์ หรือใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้
                              (ง)  ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ
                              (จ)  ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
                          ในการพิจารณาอนุญาตแก่บุคคลตามวรรคหนึ่ง ผู้อนุญาตจะต้องคำนึงถึงความจำเป็นในการมีไว้
                     เพื่อจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครอง ในการนี้ผู้อนุญาตจะกำหนดเงื่อนไขตามที่เห็นสมควรไว้ด้วยก็ได้
                            (๓๐) 
มาตรา ๒๐  ห้ามมิให้ผู้ใดผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติด

                    ให้โทษในประเภท ๓ เว้นแต่ได้รับใบอนุญาตจากผู้อนุญาต
                          ความในวรรคหนึ่งไม่ใช้บังคับแก่
                          (๑)  การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผู้ประกอบ
                    วิชาชีพเวชกรรมหรือผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรมจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เฉพาะผู้ป่วย

                    ซึ่งตนให้การรักษา
                          (๒) การจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ ที่ผู้ประกอบ
                    วิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่งจำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเฉพาะสัตว์ที่ตนบำบัด
                    
     ทั้งนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพทันตกรรม หรือผู้ประกอบวิชาชีพการสัตวแพทย์ชั้นหนึ่ง
                    ต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่กำหนดในมาตรา ๑๙ (๓)
                          การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด
                    ในกฎกระทรวง
                          การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ เกินจำนวนที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
                    โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
                    
     มาตรา ๒๑  ผู้อนุญาตจะออกใบอนุญาตให้ผลิต จำหน่าย นำเข้า หรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษ
                    ในประเภท ๓ ได้ เมื่อปรากฏว่าผู้ขออนุญาต
                          (๑)  ได้รับอนุญาตให้ผลิต ขาย หรือนำหรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งยาแผนปัจจุบัน ตามกฎหมาย
                    ว่าด้วยยา และ
                          (๒)   มีเภสัชกรอยู่ประจำตลอดเวลาทำการ

                          ให้ผู้รับอนุญาตผลิต หรือนำเข้าซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ จำหน่ายยาเสพติดให้โทษดังกล่าว
                    ที่ตนผลิตหรือนำเข้าได้โดยไม่ต้องรับใบอนุญาตจำหน่ายอีก
                             (๓๑) 
มาตรา ๒๒  ในการนำเข้าหรือส่งออกซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท ๓ หรือประเภท ๕ ของผู้ที่ได้รับ
                    ใบอนุญาตตามมาตรา ๒๐ หรือมาตรา ๒๖/๒ (๑) หรือ (๒) แล้วแต่กรณี แต่ละครั้งต้องได้รับใบอนุญาตทุกครั้ง
                    ที่นำเข้าหรือส่งออกจากผู้อนุญาตด้วย
                    
     การขอรับใบอนุญาตและการออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดในกฎกระทรวง

                     (๓๐)    มาตรา ๒๐ แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ มาตรา ๑๐
                     (๓๑)    วรรคหนึ่ง ของมาตรา ๒๒ แก้ไขโดย พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๖๒ มาตรา ๖







       ��� 6���.P302-391.indd   309                                                                3/4/20   5:47:48 PM
   316   317   318   319   320   321   322   323   324   325   326