Page 8 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 8

ดุลพาห เล่มสุดท้ายของปี ๒๕๖๑ ยังคงมีเนื้อหาอัดแน่นเช่นเดิมทั้งบทความ

               กฎหมายมหาชน กฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา กฎหมายธุรกิจ อาชญาวิทยา และ
               การบริหารงานยุติธรรม เริ่มด้วยบทความ “Rethinking the International Jurisdiction
               of Thai Courts in Civil and Commercial Matters through Comparative

               Analysis” ของท่านอภิพงศ์ ศานติเกษม หยิบยกประเด็นการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม
               ทางแพ่งและพาณิชย์ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมมาขยายความ

               โดยวิเคราะห์กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยเกี่ยวกับเขตอำานาจศาลในคดีที่มี
               ลักษณะระหว่างประเทศ เปรียบเทียบกับกฎหมายของหลายประเทศในทวีปเอเชียและ
               ทวีปยุโรป  เพื่อเสนอแนวทางการแก้ไขกฎหมายของไทยให้เป็นไปตามเจตนารมณ์

               ของแผนการปฏิรูปประเทศดังกล่าว ต่อด้วยบทความ“Public Participation in the
               Thai Legal System : A Contemporary Outlook” ของ ดร. ณรัณ โพธิ์พัฒนชัย
               และคุณสักกพล ภุมรินทร์ นำาเสนอความเป็นมาและสาระสำาคัญของบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ

               แห่งราชอาณาจักรไทยที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ตลอดจนวิเคราะห์
               บทบัญญัติและคำาพิพากษาของศาลที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชน
               ตามหลักกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองอีกด้วย ตามติดมาด้วยบทความเกี่ยวกับ

               กฎหมายธุรกิจเรื่อง “การนำาทรัพย์สินมีรูปร่างและทรัพย์สินไม่มีรูปร่างมาเป็นหลักประกัน
               ทางธุรกิจ : ศึกษากรณีสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์” ของ รศ. ดร. นิพันธ์ จิตะสมบัติ และ

               คุณเอกสิทธิ์ ฤทธิ์วีระเดช ที่วิเคราะห์สภาพปัญหาตามกฎหมายว่าด้วยหลักประกันทางธุรกิจ
               ทั้งในแง่ของการประเมินมูลค่าและการบังคับหลักประกัน ที่อาจเกิดขึ้นหากนำาสิ่งบ่งชี้ทาง
               ภูมิศาสตร์มาเป็นหลักประกัน


                      อ่านบทความกฎหมายแล้วเปลี่ยนมุมมองเป็นเชิงบริหารด้วยบทความเรื่อง
               “การประยุกต์หลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐานสำาหรับการจ่ายสำานวนคดีในศาล
               ยุติธรรม” ของ ดร. มนุเชษฐ์ โรจนศิริบุตร ที่อาศัยหลักการจัดการแบบอ้างอิงหลักฐาน

               (Evidence-based Management) มาวิเคราะห์หลักเกณฑ์ตามระเบียบราชการฝ่ายตุลาการ
               ศาลยุติรรมว่าด้วยการจ่ายสำานวนคดี พ.ศ. ๒๕๔๔ แล้วนำาเสนอแนวทางการแก้ไข

               ระเบียบเพื่อให้มีข้อมูลประกอบการตัดสินใจจ่ายสำานวนคดีของผู้บริหารทั้งในแง่ของ
   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13