Page 9 - ดุลพาห เล่ม3.indd
P. 9

ความเชี่ยวชาญขององค์คณะ ความเหมาะสมขององค์คณะและปริมาณคดี ต่อด้วยบทความ
            เกี่ยวกับกฎหมายประกันภัยเรื่อง “การประกันภัยการชำาระหนี้ : ศึกษากรณีการประกันภัย
            ความรับผิดของผู้คำ้าประกันตามสัญญาคำ้าประกัน” ของท่านภชฤทธิ์ นิลสนิท ที่วิเคราะห์

            หลักกฎหมายและคำาพิพากษาศาลฎีกาเพื่อหาคำาตอบว่าสัญญาประกันภัยการชำาระหนี้
            เป็นสัญญาประกันภัยประเภทใดและเป็นสัญญาประกันวินาศภัยหรือไม่  สำาหรับ
            ผู้สนใจแนวทางการแก้ไขกฎหมายตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม

            บทความเรื่อง “แนวทางการปฏิรูประบบการกำาหนดโทษอาญา (sentencing reform)
            ตามแผนการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรม  พ.ศ.  ๒๕๖๐  -  ๒๕๖๔”

            ของ ดร. ศุภกิจ แย้มประชา นำาเสนอทิศทางการปฏิรูประบบการกำาหนดโทษทางอาญา
            ในต่างประเทศ แนวทางการปฏิรูปตามแผนการปฏิรูปประเทศ และรูปแบบของแนวทางการ
            กำาหนดโทษอาญา (sentencing guidelines) ในต่างประเทศ ท่านที่สนใจกฎหมายแรงงาน

            บทความเรื่อง “การใช้มาตรการทางวินัยอย่างสร้างสรรค์” ของคุณเกรียงไกร เจียมบุญศรี
            อาศัยมุมมองในเชิงบริหารและการวิเคราะห์แนวคำาพิพากษาศาลฎีกาในคดีแรงงาน

            นำาเสนอองค์ประกอบของการใช้มาตรการทางวินัยภายในองค์กรอย่างเหมาะสม
            เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและเป็นไปตามกรอบของกฎหมาย

                    แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายที่รองรับผลทางกฎหมายของการเกิดโดยอาศัย

            เทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ ตั้งแต่ปี ๒๕๕๘ แต่บทความเรื่อง “ปัญหา
            กฎหมายเกี่ยวกับสัญญาตั้งครรภ์แทน” ของท่านสุกฤษฎิ์ ตั้งวรรณวิบูลย์ ชี้ให้เห็นว่า
            กฎหมายดังกล่าวยังมีข้อบกพร่องหลายประการ ส่วนบทความ “มาตรการป้องกันและ

            ควบคุมอาชญากรรมในเชิงปรัชญาอาชญาวิทยา  Criminology  Philosophy
            measures in Preventing and Controlling Crimes” ของ ผศ. (พิเศษ) ดร. อุทิศ สุภาพ

            อาศัยมุมมองทางอาชญาวิทยานำาเสนอว่าการป้องกันและควบคุมอาชญากรรม
            ที่มีประสิทธิภาพนั้น  ต้องอาศัยมาตรการป้องกันและควบคุมทั้งที่เป็นทางการและ
            ไม่เป็นทางการควบคู่กันไป หันไปดูบทความเกี่ยวกับกฎหมายเยาวชนและครอบครัว

            กันบ้าง บทความเรื่อง “โครงการสานฝันเด็กและเยาวชนด้านทักษะฟุตบอลเพื่อพัฒนา
            เป็นอาชีพ” ของ ดร. สุรพันธ์ อรัญนารถ แม้ไม่ใช่บทความกฎหมายที่คุ้นเคย แต่แสดงให้
            เห็นว่าการนำาเจตนารมณ์และบทบัญญัติของกฎหมายเยาวชนและครอบครัวในการ

            มุ่งพัฒนาพฤตินิสัยของเด็กและเยาวชนที่พลั้งพลาดไปดำาเนินการจริงของศาล
            เยาวชนและครอบครัวกลางนั้นมีขั้นตอนการดำาเนินการและผลเป็นอย่างไร ส่วนบทความ
            สุดท้ายของเล่มนี้คือบทความเรื่อง “ข้อพิจารณาทางกฎหมายในการจัดวางระเบียบ
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14