Page 382 - โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน
P. 382

41


                                                             บทที่ 5



                                                     สรุปผลการดำเนินงาน


                       5.1 สรุปผลการดำเนินงาน

                              โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน ในตำบลแม่ลาน อำเภอลี้ จังหวัดลำพน
                                                                                                           ู
                       เนื้อที่ 12,586 ไร่ มีรายละเอียดโดยสรุปได้ ดังนี้

                            5.1.1 ข้อมูลลักษณะแปลงที่ดิน
                                     ก) ดำเนินการสำรวจฯ ในพื้นที่ 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านผาต้าย บ้านหนองมะล้อ บ้านแม่ลาน

                       บ้านแม่กองวะ บ้านเด่นเหม้า บ้านผาต้ายเหนือ บ้านห้วยทรายขาว
                                     ข) ดำเนินการสำรวจแปลงถือครองที่ดินโดยวิธีการสัมภาษณ์เกษตรกรจำนวน 731 แปลง
                                     ค) เกษตรกรถือเอกสารสิทธิประเภท ได้แก่ โฉนดที่ดิน จำนวน 501 แปลง (ร้อยละ 68.54)
                       ส.ป.ก. 4-01 จำนวน 2 แปลง (ร้อยละ 0.27)  หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3, น.ส.3ก., น.ส.3ข.
                       และแบบหมายเลข 3) จำนวน 34 แปลง (ร้อยละ 4.65) และ อื่นๆ (ส.ค.1, น.ส.2/น.ส.2ก.,

                       ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ฯลฯ) จำนวน 194 แปลง (ร้อยละ 26.54)
                                     ง) เกษตรกรเป็นเจ้าของที่ดินและทำการเกษตรเอง จำนวน 713 แปลง (ร้อยละ 97.54)
                       และญาติ/เข้าทำเปล่า จำนวน 18 แปลง (ร้อยละ 2.46)

                                     จ) ขนาดสัดส่วนแปลงที่ดินของเกษตรกรมีขนาดเนื้อที่อยู่ระหว่างแปลงที่ดินที่มีขนาด
                       น้อยกว่า 1 ไร่ จำนวน 148 แปลง (ร้อยละ 20.25) ๑-5 ไร่ จำนวน 337 แปลง (ร้อยละ 46.10)
                       5-10 ไร่ จำนวน 143 แปลง (ร้อยละ 19.56) 10-20 ไร่ จำนวน 86 แปลง (ร้อยละ 11.76)
                       20-50 ไร่ จำนวน 16 แปลง (ร้อยละ 2.19) และมากกว่า 50 ไร่ จำนวน 1 แปลง (ร้อยละ 0.14)


                              5.1.2 ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดิน
                                     ก) เกษตรกรปลูกลำไยมากที่สุด จำนวน 517 แปลง (ร้อยละ 70.73) รองลงมา
                       คือ ข้าวโพด จำนวน 107 แปลง (ร้อยละ 14.64) และทำนาข้าว จำนวน 49 แปลง (ร้อยละ 6.70)
                                     ข) ด้านน้ำต้นทุนเพื่อการเกษตร พบว่า เกษตรกรในพื้นที่มีการใช้น้ำด้านเกษตรกรรม

                       จากฝนอย่างเดียวมากที่สุด จำนวน 332 แปลง (ร้อยละ 45.42) รองลงมาเป็นการใช้บ่อ/สระขุดเอง
                       จำนวน 189 แปลง (ร้อยละ 25.85) และใช้แหล่งน้ำสาธารณะ จำนวน 120 แปลง (ร้อยละ 16.42)
                                     ค) ปัญหาหลักด้านการเกษตร 3 อันดับแรกที่พบในพื้นที่ดำเนินการ ได้แก่ ภัยแล้ง
                       จำนวน 447 แปลง (ร้อยละ 61.15) รองลงมาเป็นเรื่องราคาผลผลิตตกต่ำ จำนวน 361 แปลง (ร้อยละ 49.38)

                       และโรคพืช/ศัตรูพืช จำนวน 225 แปลง (ร้อยละ 30.78)
                                     ง) เกษตรกรมีการใช้ปุ๋ยเคมี/ปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุด จำนวน 371 แปลง (ร้อยละ 50.75)
                       รองลงมา คือ ปุ๋ยเคมี จำนวน 214 แปลง (ร้อยละ 29.27) ไม่ใช้ปุ๋ย จำนวน 136 แปลง (ร้อยละ 18.60)
                       และปุ๋ยอินทรีย์ จำนวน 10 แปลง (ร้อยละ 1.37)

                                     จ) เกษตรกรมีการใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช จำนวน 612 แปลง (ร้อยละ 83.72)
                       และไม่ใช้สารเคมีปราบศัตรูพืช จำนวน 119 แปลง (ร้อยละ 16.28)
   377   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387