Page 383 - โครงการสำรวจจัดทำสำมะโนที่ดินเพื่อการพัฒนาที่ดิน
P. 383

42


                                     ฉ) ปัญหาด้านดินเกษตรกรมีปัญหามากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ปัญหาดินทรายจัด
                       จำนวน 230 แปลง (ร้อยละ 31.46) รองลงมาเป็นไม่มีปัญหา จำนวน 225 แปลง (ร้อยละ 30.78)

                       และดินเหนียว จำนวน 141 แปลง (ร้อยละ 19.29)
                                     ช) เกษตรกรไม่มีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 460 แปลง (ร้อยละ 62.93)
                       และมีการปลูกไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ จำนวน 271 แปลง (ร้อยละ 37.07)
                               5.1.3 ขอมูลการขึ้นทะเบียนเกษตรกร
                              การสอบถามขอมูลเกี่ยวกับการเขารวมกิจกรรมของเกษตรกรกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ

                       เกษตรกรมีการเขารวมกิจกรรมบัตรดินดีของกรมพัฒนาที่ดิน พบวา เกษตรกรเขารวมกิจกรรมบัตรดินดี
                       จำนวน 28 แปลง (รอยละ 3.83) และไมเขารวมกิจกรรมบัตรดินดี จำนวน 703 แปลง (รอยละ 96.17)
                       และการประมาณบัญชีจากผลผลิตทางการเกษตร พบวา เกษตรกรมีรายจ่ายน้อยกว่ารายรับ (กำไร)

                       จากการลงทุนทางการเกษตร มากที่สุด จำนวน 409 แปลง (ร้อยละ 55.95) รองลงมาเกษตรกรปลูกไว้บริโภค
                       จำนวน 180 แปลง (ร้อยละ 24.62) และเกษตรกรมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย (ขาดทุน) จำนวน 142 แปลง
                       (ร้อยละ 19.43)


                       5.2   ปัญหา
                              1. ในช่วงปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เกษตรบางกลุ่มจะติดภารกิจในการเข้าดูแลพืชผลที่ปลูก
                       จึงไม่สามารถเข้ามาให้ข้อมูลได้
                              2. เกษตรกรบางรายมีการถือครองที่ดินจำนวนหลายแปลง และมีการทำประโยชน์หลากหลาย

                       จึงทำการให้ข้อมูลรายแปลงเกิดความสับสน ว่าแปลงไหนทำประโยชน์อะไรบ้าง ข้อมูลรายแปลงที่ได้
                       อาจจะมีความผิดพลาดจากความเป็นจริง
                              3. การระบาดของโรค COVID-19 ทำใหการเขาพื้นที่สัมภาษณและชี้แปลงเกษตรกรในพื้นที่
                       ไมตอเนื่องสม่ำเสมอ สงผลใหการจัดเก็บขอมูลลาชาและบุคลากรมีความเสี่ยงตอการติดโรค



                       5.3   ข้อเสนอแนะ

                              สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต สถานีพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลและแผนที่ไปใช้
                       ประโยชน์ได้ดังนี้
                              1. สามารถนำแผนที่การถือครองที่ดินและข้อมูลอรรถาธิบาย (Attribute) มาใช้ในงาน

                       ของกรมพัฒนาที่ดิน และหน่วยงานต่าง ๆ ภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เช่น
                                     - เรื่องทัศนคติของเกษตรกรสำหรับงานด้านพัฒนาที่ดิน และปัญหาด้านการเกษตร
                       สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลประกอบการให้คำแนะนำในการจัดการดินสำหรับการปลูกพืชเศรษฐกิจ
                       ตามความเหมาะสมเป็นรายแปลงได้
                                     - เรื่องปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับการเกษตร สามารถใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับงาน

                       ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านการพัฒนาที่ดินและแหล่งน้ำ เช่น การอนุรักษ์ดินและน้ำ การสร้าง
                       แหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน และการสร้างแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ
                                     - เรื่องการบริหารจัดการพื้นที่เกษตรแปลงใหญ่

                                     - ด้านการวางแผนเพื่อการขายพืชผลทางการเกษตร
   378   379   380   381   382   383   384   385   386   387   388