Page 10 - งานนำเสนอ PowerPoint
P. 10

๕



                    ๒.๑ สมัยสุโขทัย

                           การละเล่นของเด็กไทยนั้นมีประวัติความเป็นมาตั้งแต่


     สมัยดึกดําบรรพ์ก่อนประวัติศาสตร์แล้ว กล่าวคือ เมื่อมนุษย์รู้จักเอาดิน


     มาปั้นเป็นภาชนะ สิ่งของเครื่องใช้ในครั้งแรกแล้วจึงพัฒนามาเป็นลําดับ

     เด็กๆ เห็นผู้ใหญ่ทําก็เลียนแบบนําดินมาปั้นเล่นบ้าง ประวัติศาสตร์ได้มี


     การบันทึกว่าคนไทยมีการละเล่นมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย จากความในศิลา

     จารึกของพ่อขุนรามคําแหง สมัยสุโขทัยหลักที่ ๑ กล่าวว่า " ใครใคร่จัก


     มักเล่น เล่นใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื่อน เลื่อน " แต่ไม่มีรายละเอียด


     กล่าวไว้ว่าคนสมัยนั้นมีการละเล่นอะไรบ้าง ในตํารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ มี

     การกล่าวถึงการละเล่นของคนสมัยนั้นว่า " เดือนยี่ถึงการพระราชพิธี


     บุษยาภิเษก เถลิงพระโคกินเลี้ยงเป็นนักขัตฤกษ์ หมู่นางในก็ได้ดูชุดชักว่าว

     หง่าวฟังสําเนียง เสียงว่าวร้องเสนาะลั่นฟ้ าไปทั้งทิวาราตรี “


                    ๒.๒ สมัยกรุงศรีอยุธยา


                         ในสมัยอยุธยา ก็ได้กล่าวถึงการแสดงเรื่อง มโนห์รา ไว้ใน

     บทละครครั้งกรุงเก่า ซึ่งเรื่องนี้สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ทรง


     สันนิษฐานว่าแต่งก่อนสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ การละเล่นที่

     ปรากฏในบทละครเรื่องนี้ คือ ลิงชิงหลักและการเล่นปลาลงอวน ซึ่ง


     ประเพณีและวัฒนธรรมสมัยก่อน มักสอดแทรกความสนุกสนานบันเทิง


     ควบคู่กันไปกับการทํางานทั้งในชีวิตประจําวัน และเทศกาลงานบุญ ตาม

     ระยะเวลาแห่งฤดูกาล


                       ในสมัยอยุธยา บทละครกรุงเก่าได้กล่าวถึงการละเล่น

     บางอย่างที่คุณคงจะคุ้นเคยดีเมื่อสมัยยังเด็ก คือ ลิงชิงหลักและปลาลง


     อวน ในบทที่ว่า "เมื่อนั้น โฉมนวลพระพี่ศรีจุลา ว่าเจ้าโฉมตรูมโนห์รา มา


     เราจะเล่นกระไรดี เล่นให้สบายคลายทุกข์ เล่นให้สนุกในวันนี้
   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15