Page 24 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 24

ค่อนข้างหยาบคาย เพื่อเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด และเพิ่มความสนุกสนานให้กับชาวบ้าน ตัวละครที่แสดงเป็นท้าวพระยามหากษัตริย์ อาจเล่นตลกคลุกคลีปะปนไปกับเสนาบริวารได้
๓. ละครใน
ละครในเป็นละครที่ใช้ผู้แสดงหญิงล้วน เกิดขึ้นในพระราชฐานชั้นใน ละครใน มีระเบียบแบบแผนและขนบธรรมเนียมประเพณีของราชสําานัก ทําาให้การแสดงมีความอ่อนช้อย การแต่งกายของผู้เล่นละครในจะแต่งกายตามแบบแผนกษัตริย์ เรียกว่า ยืนเครื่อง เรื่องที่นิยมนําามา แสดง ได้แก่ รามเกียรติ์ อิเหนา และอุณรุท เดิมละครในห้ามบุคคลภายนอกหัดเล่น จนถึงสมัยรัชกาล ที่ ๔ สามารถให้บุคคลภายนอกฝึกเล่นได้และอนุญาตให้ผู้ชายแสดงได้ด้วย
การแสดงละครใน เรื่อง รามเกียรติ์
ที่มา : www.thainews.prd.go.th/centerwebNewsNewsDetailNT01_NewsID=TNART 5602120010008
คําาถามท้าทาย ละครนอกแตกต่างกับละครในอย่างไร
๔. ละครดึกดําาบรรพ์
ละครดึกดําาบรรพ์เป็นละครที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ โดยเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์- วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) ได้เดินทางไปยุโรป และมีโอกาสชมละครโอเปรา (opera) จึงคิด ทําาละครโอเปราให้เป็นแบบไทย ลักษณะของการแสดงละครใช้ผู้แสดงหญิงล้วน มีเสียงดี รูปร่างงาม รําาสวย แต่งกายแบบยืนเครื่อง เรื่องที่แสดง เช่น สังข์ทอง อุณรุท มณีพิชัย ศกุนตลา การแสดงจะแตกต่าง จากละครแบบดั้งเดิม คือ ผู้แสดงต้องร้องเองรําาเอง ไม่มีบรรยายกิริยาของตัวละคร มีการใช้แสง สี เสียง ประกอบฉาก แสดงในโรงละครดึกดาํา บรรพ์ มีการผสมวงปี่พาทย์ขึ้นใหม่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดาํา บรรพ์
98 ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.๑


































































































   22   23   24   25   26