Page 23 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 23
๒. พระยาพรหมาภิบาล (ทองใบ สุวรรณภารต) ครูทางด้านตัวยักษ์
ท่านเป็นบุตรนายทองอยู่ สุวรรณภารต ที่แสดงเป็นตัวพิเภก พระยาพรหมาภิบาล แสดงเป็นตัวทศกัณฐ์ ท่านมีความสามารถในการรําาที่เข้มแข็ง ขึงขังอย่างงดงามสมกับตัวยักษ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้บรรดาศักดิ์เป็นขุนระบําาภาษา และพระระบําาภาษา ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ได้บรรดาศักดิ์เป็นพระยาพรหมาภิบาล ท่านเป็นพี่ชายของพระยานัฏกานุรักษ์
ความรู้เพ่ิมเติม
การตั้งหัวโขน ความเชื่อเกี่ยวกับการตั้งหัวโขน คือ จะต้องแบ่งเป็นพวก เป็นสัดส่วน หัวโขน หน้ายักษ์และลิง จะต้องตั้งไว้คนละด้านกัน และมีหัวโขนหน้าฤๅษีคั่นกลาง โบราณห้ามไม่ให้นําา หัวโขนตลอดจนเครื่องแต่งตัวเก็บไว้ที่บ้าน ต้องไปฝากไว้ที่วัด
คําาถามท้าทาย ถ้านักเรียนแสดงโขนจะเป็นตัวละครตัวใด ๒. ละครรํา
๒.๑ การพัฒนารูปแบบการแสดง
ละครรําาเป็นละครที่ใช้ศิลปะการร่ายรําาดําาเนินเรื่อง แบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
๑. ละครชาตรี
ละครชาตรีเป็นละครรําาดั้งเดิมของไทยที่มีมา แต่โบราณ เป็นที่นิยมแพร่หลายทางภาคใต้ นิยมแสดงเรื่อง พระสุธนมโนราห์ ดังนั้นคนในภาคใต้จึงเรียกสั้น ๆ ว่า โนราชาตรี ตัวละครที่สําาคัญมี ๓ ตัว คือ ตัวนายโรงหรือตัวยืนเครื่อง ตัวนาง และตัวตลก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีผู้คิดนําาเอาละครชาตรีกับ
ละครนอกมาผสมกัน
๒. ละครนอก
ละครโนราชาตรี
ท่ีมา : www.Bloggang.com/weblog foryouandyougand/ขนุ เพชรขนุ ราม
ละครนอกสบื เนือ่ งมาจากการละเลน่ ของชาวบา้ น ตอ่ มาจงึ คดิ ปรบั ปรงุ ใหเ้ ลน่ เปน็ เรือ่ ง เป็นตอน เช่น เรื่องสังข์ทอง การะเกด ด้วยเหตุที่ละครนอกมีกําาเนิดมาจากการแสดงให้ชาวบ้านชม และ ใช้ผู้ชายเล่น (ละครผู้หญิงแสดงได้เฉพาะในวัง) จึงไม่พิถีพิถันในความงดงามของการร่ายรําา ต้องการ ความว่องไว ดําาเนินเรื่องรวดเร็ว บางตอนที่แทรกมุกตลกได้ก็มักจะเล่นตลกครั้งละนาน ๆ บางครั้ง
การแสดงนาฏศิลป์ 97