Page 22 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 22

๓. พัฒนามาจากการเล่นหนังใหญ่
หนังใหญ่มีอิทธิพลต่อโขน ๒ ประการ คือ เรื่องที่แสดง การแสดงหนังใหญ่ใช้เรื่อง รามเกียรติ์เพียงเรื่องเดียวเป็นการประกอบการแสดง และอีกประการ คือ ลีลาการเชิดหนังใหญ่ในการ แสดงโขนจะมีลักษณะท่าทางการเต้นที่มีรูปแบบมาจากการเชิดหนังใหญ่
การแสดงหนังใหญ่
ที่มา : www.2g.pantip.comcafeblueplanettopicE13053173E13053173.html
๑.๒ ประวัติและอิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงด้านการแสดงโขน
๑. พระยานัฏกานุรักษ์ (ทองดี สุวรรณภารต) ครูทางด้านตัวพระ
ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนัฏกานุรักษ์ ต่อมาในสมัยรัชกาล ที่ ๖ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยานัฏกานุรักษ์ ท่านมีความสามารถในการแสดงเป็นพระรามที่รําางดงาม ตามแบบแผนนาฏศลิ ปไ์ ทยทีต่ อ่ เนือ่ งมายาวนาน ทา่ นเปน็ ศษิ ยข์ องนายคุม้ พระราม ตวั โขนของ กรมพระ- พิทักษ์เทเวศร์ ซึ่งเป็นพระเจ้าลูกยาเธอในรัชกาลท่ี ๒ พระยานัฏกานุรักษ์ได้เป็นอาจารย์ผู้ถ่ายทอดท่ารําา ให้กับละครวังสวนกุหลาบ ซึ่งเป็นละครของสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวง นครราชสีมา พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งครูในละครคณะนี้ล้วนมีฝีมือ เป็นเลิศในทางนาฏศิลป์ หลายท่านที่ฝึกเป็นนักแสดงในคณะนี้กลายมาเป็นอาจารย์ผู้สอนและสืบทอด วิชานาฏศิลป์ เช่น ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี (ศิลปินแห่งชาติ) คุณครูลมุล ยมะคุปต์
นอกจากเป็นผู้ถ่ายทอดท่ารําาทางด้านตัวพระแล้ว ท่านยังเป็นครูผู้ทําาพิธีไหว้ครูทางด้านนาฏศิลป์ และถ่ายทอดพิธีการไหว้ครูนาฏศิลป์ให้กับครูผู้ทําาพิธีได้รับมาปฏิบัติตราบเท่าทุกวันนี้
96 ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.๑


































































































   20   21   22   23   24