Page 39 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 39
กิจกรรมการเรียนรู้ท่ี ๒
นาฏยศัพท์หรือศัพท์ทางการละครในการแสดง และภาษาท่า ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ และการตีบท
๑. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์ที่เกี่ยวกับการใช้เท้าและการใช้มือดังต่อไปนี้ ๑. ประเท้า ๒. ยกเท้า ๓. กระทุ้งเท้า ๔. กระดกเท้า
๕. ตั้งวงบน ๖. ตั้งวงกลาง ๗. ตั้งวงล่าง ๘. จีบควํา่า
๙. จีบหงาย ๑๐. หยิบจีบ ๑๑. คลายมือจีบ ๑๒. ส่ายมือ ๑๓. เดินมือ จากนั้นให้แต่ละคู่ออกมาปฏิบัติหน้าชั้นเรียนทีละ ๕ คู่ โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้อง และให้คําาแนะนําา
๒. ให้นักเรียนเลือกนาฏยศัพท์ที่สนใจ ๑ ท่า พร้อมทั้งบอกว่านาฏยศัพท์ที่สนใจมีลักษณะต่างจาก นาฏยศัพท์อื่นอย่างไร จากนั้นออกมาปฏิบัติและนําาเสนอหน้าชั้นเรียน
๓. ให้นักเรียนแสดงภาษาท่าของตนเองหน้าชั้นเรียนด้วยกิริยาอาการดังต่อไปนี้ รัก โกรธ ดีใจ
๔. ให้นักเรียนจับคู่กับเพื่อนเป็นตัวพระและตัวนางฝึกปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์ดังนี้ ท่าโกรธ ท่ารัก ท่าเดิน
จากนั้นออกมาแสดงหน้าชั้นเรียนทีละ ๕ คู่ โดยครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องและให้คําาแนะนําา ๕. ให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๕ คน ร่วมกันคิดประโยค ๑ ประโยค โดยใช้การรําาใช้บทหรือ
การตีบท จากนั้นร่วมกันฝึกปฏิบัติ แล้วออกมาแสดงหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม
คําาถามพัฒนากระบวนการคิด
๑. การกระทุ้งเท้าและการกระดกเท้ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
๒. การประเท้าและการยกเท้าต่างกันอย่างไร
๓. จีบมือและหยิบจีบแตกต่างกันอย่างไร
๔. การฝึกปฏิบัตินาฏยศัพท์เป็นประจําาส่งผลต่อการแสดงนาฏศิลป์ของนักเรียนอย่างไร
๕. ถ้าการแสดงนาฏยศัพท์มีแต่การใช้นาฏยศัพท์ที่เกี่ยวกับการใช้เท้าเพียงอย่างเดียว นักเรียน
คิดว่าการแสดงนาฏศิลป์ไทยจะเป็นอย่างไร
๖. ภาษาท่าใดที่นักเรียนแสดงออกบ่อยที่สุดในชีวิตประจําาวัน
๗. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ท่าเดินตัวพระกับตัวนางแตกต่างกันอย่างไร
๘. การตีบทมีประโยชน์ต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร
๙. การแสดงความรู้สึกโดยใช้วาจาและไม่ใช้วาจามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร ๑๐. การแสดงท่ารําาของไทยมีความงดงามต่างจากการแสดงท่ารําาของต่างชาติอย่างไร
การแสดงนาฏศิลป์ 113