Page 40 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 40

ท่าทางเคลื่อนไหวที่แสดงส่ือทางอารมณ์
การเคลื่อนไหวท่าทางสื่ออารมณ์ เป็นการเคลื่อนไหวร่างกาย โดยการใช้ แขน ขา มือ เท้า ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย สีหน้า แววตาต่าง ๆ แสดงอารมณ์ความรู้สึกออกมา ซึ่งอารมณ์ที่ แสดงออกมานนั้ เกดิ จากธรรมชาตขิ องมนษุ ยท์ มี่ อี ยใู่ นชวี ติ ประจาํา วนั เช่น อารมณ์รัก โกรธ เสียใจ
การเคลื่อนไหวท่าทาง เช่น การยืน เดิน วิ่ง สามารถนําามา สร้างสรรค์ประดิษฐ์เป็นท่าทางต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงาม เพื่อ นําามาใช้เป็นท่ารําาต่าง ๆ การเคลื่อนไหวท่าทางสื่ออารมณ์เป็น การเคลื่อนไหวที่นําามาใช้ในการแสดงต่าง ๆ เพื่อสื่อความหมาย แทนคําาพูดของตัวละครให้ผู้ชมเข้าใจได้ว่าตัวละครนั้นมีอารมณ์ อย่างไร และเข้าใจท่าทางอารมณ์ของตัวแสดงได้ง่ายขึ้น
ทา่ ทางกาํา หมดั ดขู งึ ขงั หนา้ บง้ึ สอื่ ถงึ อารมณโ์ กรธ
คําาถามท้าทาย นักเรียนจะประดิษฐ์ท่าทางการเคลื่อนไหว ที่แสดงสื่อถึงอารมณ์ใด และมีลักษณะอย่างไร
ระบําาเบ็ดเตล็ด
ระบําา คือ การแสดงที่ใช้คนจําานวนมากตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป การแสดงระบําาจะมีเนื้อร้องประกอบ การแสดงหรือไม่มีเนื้อร้องประกอบก็ได้ การแสดงระบําามุ่งท่ารําาที่งดงามด้วยทําานองเพลงไพเราะ เครื่องแต่งกายงดงาม ความพร้อมเพรียง และการปรับขบวนหรือแปรแถวเป็นหลัก เพื่อให้ผู้ชม เกิดความเพลิดเพลิน ถ้าต้องการให้ระบําาชุดนั้นดึงดูดใจผู้ชมควรนําาเสนอภายในเวลาไม่เกิน ๑๕ นาที มิฉะนั้นจะยาวเกินไป ถ้ามีผู้แสดงน้อยเวลาที่แสดงควรสั้นลง สิ่งที่ควรคําานึงถึงในการจัดระบําา มีดังนี้
๑. ลีลาท่าทาง ควรให้เหมาะสมกับเนื้อร้องที่ประกอบเพลง (นําาการตีบทมาใช้) และ ทําานองเพลง ดังนั้นควรศึกษาหรือทําาความเข้าใจกับเพลงที่นําามาประกอบกับระบําาชุดนั้นว่ามีท่วงทําานอง ไปในแนวใด เช่น อ่อนหวาน รื่นเริง ปลุกใจ เพื่อแสดงท่าทางประกอบบทเพลงนั้นให้เหมาะสม
๒. เครื่องแต่งกาย มีส่วนสําาคัญที่จะช่วยให้ระบําาชุดนั้นเป็นที่ดึงดูดสายตาผู้ชมในแง่มุมต่าง ๆ ตามแต่จุดมุ่งหมายของผู้จัดระบําา และบอกถึงชนิดของระบําาชุดนั้น ๆ ด้วย
๓. ความพร้อมเพรียงกัน เนื่องจากใช้ผู้แสดงมากกว่า ๒ คน ผู้แสดงจึงต้องมีระเบียบใน การแสดง เป็นการเน้นให้เห็นถึงความสามัคคีของผู้แสดงและความสามารถในการกําากับการแสดง
114 ดนตรี-นาฏศิลป์ ม.๑


































































































   38   39   40   41   42