Page 41 - ดนตรี-นาฏศิลป์ ม 1
P. 41

๔. การแปรแถวและการวางระยะ เรื่องนี้เป็นความสามารถของผู้สอนที่จะบอกผู้แสดงให้ แน่นอนว่าต้องการรูปแบบใด แก้ไขในการฝึกซ้อมให้ชัดเจน นอกจากนี้ยังเน้นไหวพริบของผู้แสดง เป็น การแสดงให้เห็นถึงความสามารถและระยะเวลาการฝึกซ้อมของผู้แสดงระบําาชุดนั้น
๕. ไหวพริบของผู้แสดง มีส่วนที่จะช่วยให้ระบําาชุดนั้น ๆ มีความผิดพลาดน้อยที่สุด
ระบําาเบ็ดเตล็ด คือ ระบําาที่มีการประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ เพื่อให้ทันสมัยต่อเหตุการณ์และเนื้อเรื่อง ระบําาเบ็ดเตล็ดแบ่งออกได้ ดังนี้
๑. ระบําาเบ็ดเตล็ดที่ปรับปรุงจากมาตรฐาน คือ ระบําาที่ประดิษฐ์ขึ้นโดยยึดท่าทาง ลีลาตามเดิมไว้ แต่อาจเปลี่ยนแปลงในเรื่องของการแปรแถวและบทเพลงที่นําามาใช้สอดแทรก เพื่อให้เหมาะสมกับงาน และสถานที่
๒. ระบําาเบ็ดเตล็ดที่ปรับปรุงจากพื้นบ้าน คือ ระบําาที่ประดิษฐ์ขึ้นจากอาชีพของคนในท้องถิ่น แต่ละภูมิภาค เป็นเอกลักษณ์การแสดงประจําาท้องถิ่น เช่น เต้นกําารําาเคียว ระบําาชาวนา ระบําากะลา เซิ้งแหย่ไข่มดแดง ระบําาปาเต๊ะ ระบําาตารีกีปัส
๓. ระบําาเบ็ดเตล็ดที่ปรับปรุงจากลักษณะท่าทางของสัตว์ คือ ระบําาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อ เลียนแบบลักษณะท่าทางของสัตว์ มีลีลาท่ารําาเหมือนสัตว์ เช่น ระบําาม้า ระบําานกเขา ระบําาบันเทิงกาสร (ระบําาควาย) ระบําามฤคระเริง
๔. ระบําาเบ็ดเตล็ดที่ปรับปรุงตามเหตุการณ์ต่าง ๆ คือ ระบําาที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้ในงานหรือ โอกาสต่าง ๆ เช่น ระบําาโคม แสดงในวันลอยกระทง ระบําานางสงกรานต์ แสดงในวันสงกรานต์
ตัวอย่างการแสดงระบําาเบ็ดเตล็ด
ระบําอัศวลีล
ระบําาอัศวลีลาหรือระบําาม้า จัดเป็นระบําาในนาฏศิลป์ไทยที่เรียกว่า ระบําาเบ็ดเตล็ด กรมศิลปากร ได้สร้างสรรค์ขึ้นและใช้แสดงเป็นระบําาแทรกอยู่ในละครเรื่องรถเสน ตอนพระรถเสนจับม้า ระบําาชุดนี้ ผู้ออกแบบท่าเต้น คือ ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้ประพันธ์เพลงประกอบ คือ อาจารย์มนตรี ตราโมท
ระบําาอัศวลีลา เป็นการแสดงที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความสง่า สวยงาม ความแข็งแรง ปราดเปรียว ของม้า ซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงของมนุษย์ที่ใช้เป็นพาหนะ และในละครของไทยม้าจะเป็นสัตว์ที่มีบทบาท สําาคัญตัวหนึ่งในหลายเรื่อง เช่น รถเสน ขุนช้างขุนแผน รามเกียรติ์ ดังนั้นลีลาท่าทางการเต้น ของระบําาชุดนี้จึงเลียนแบบกิริยาอาการของม้าทั้งท่าเดินย่อง ย่างเท้า กระทืบเท้า โขยกเท้า และ กระโดดดีดเท้า มีการใช้นาฏยศัพท์ เช่น ลักคอ วิ่งเหยาะ สามารถแสดงได้ทั้งชายและหญิง วงดนตรี ที่ใช้ประกอบการบรรเลง คือ วงปี่พาทย์ ไม่มีบทขับร้อง ลักษณะการแต่งกายของระบําาชุดนี้จะตัดเย็บ เป็นรูปชุดเสื้อและกางเกงติดกัน สวมศีรษะเป็นรูปม้า สวมกระพรวนเท้า บางครั้งใส่รองเท้าหุ้มส้นเตี้ย ๆ เพื่อให้มีเสียงดังเหมือนเกือกม้า
การแสดงนาฏศิลป์ 115


































































































   38   39   40   41   42