Page 17 - สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ม 1
P. 17
ชาดกเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า การรู้จักเคารพซึ่งกันและกันตามวัยวุฒิ และรู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือ กัน ย่อมนามาซ่ึงความสุขในการอยู่ร่วมกันของหมู่คณะ
วันสาคัญทางพระพุทธศาสนาเป็นวันที่มีความสาคัญเก่ียวเน่ืองกับพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์
ประวัติและความสาคัญ
วันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ (ปีที่มีอธิกมาสเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญเดือน ๗) เป็น วันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า องค์การสหประชาชาติได้ประกาศให้ วันวิสาขบูชาเป็นวันสาคัญสากลทางพระพุทธศาสนาเพื่อให้ชาวพุทธทั่วโลกได้น้อมระลึกถึงพระพุทธคุณ ที่มีต่อมนุษย์ทั้งหลาย
วันวิสาขบูชาเป็นวันคล้ายวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า
วันมาฆบูชา
วันมาฆบูชา คือ การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๓ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ และ มีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ ที่เรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต คือ พระภิกษุ ๑,๒๕๐ องค์ เป็น พระอรหันต์ที่ได้รับอุปสมบทจากพระพุทธเจ้ามาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย
วันอาสาฬหบูชา
วันอาสาฬหบูชา ตรงกับวันข้ึน ๑๕ ค่า เดือน ๘ ก่อนเข้าพรรษา ๑ วัน มีเหตุการณ์สาคัญเกิดข้ึน ๓ ประการ ดังน้ี
วันสําาคัญทางพระพุทธศาสนา
๑. พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ธัมมจักกัปปวัตนสูตร โปรดปัญจวัคคีย์ที่ป่าอิิสิป- ตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี
๒. ผลของการแสดงพระธรรมเทศนานี้อัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมคิือมีความเข้าใจ ในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง จึงทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา
๓. เป็นวันที่มีพระรัตนตรัยครบ ๓ ประการ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
พระพุทธ 15