Page 17 - นาฏศิลป์ ม 4-6
P. 17
ความงามและคุณค่าของนาฏศิลป์และการละครของไทย
นาฏศิลป์และละครไทยนอกจากลีลาท่ารําาที่สวยงามแล้ว ยังมีความงามและคุณค่าในด้านต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบสําาคัญที่ใช้ในการแสดง ดังนี้
๑. ควมงมของนฏศิลป์และกรละครของไทย
๑.๑ ตัวละคร
ในวรรณกรรมมีตัวละคร ๔ ประเภท ดังนี้
ประเภทที่ ๑ ในการแสดงเรียกว่า ตัวนายโรง หรือตัวพระเอก เรียกสั้น ๆ ว่า ตัวพระ
หมายถึง ผู้แสดงจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ และต้องแสดงบทบาทลีลาท่ารําาเป็นผู้ชาย
ประเภทที่ ๒ ในการแสดง เรียกว่า ตัวนาง หมายถึง ผู้แสดงจะเป็นหญิงหรือชายก็ได้ และ
ต้องแสดงบทบาทลีลาท่ารําาเป็นผู้หญิง
ประเภทที่ ๓ ในการแสดง เรียกว่า ตัวยักษ์ หมายถึง ผู้แสดงเป็นตัวยักษ์ มักใช้ผู้ชาย
ที่มีรูปร่างใหญ่แสดง
ประเภทที่ ๔ ในการแสดง เรียกว่า ตัวลิง หมายถึง ผู้แสดงเป็นตัวลิง มักใช้ผู้ชายที่มี
รูปร่างเล็กแสดง
ตัวละครทั้ง ๔ ประเภทมีลักษณะลีลาท่ารําา ท่าเต้น แตกต่างกัน และมีความงดงามตาม รูปแบบของละคร ดังนี้
ตัวพระ แบ่งตามลักษณะเพศของผู้แสดงได้ ๒ แบบ ดังนี้
๑. แบบตัวพระแท้ ใช้ผู้ชายจริงแสดง ใช้ในการแสดงโขน และละครประเภทต่าง ๆ ยกเว้นละครใน
๒. แบบตัวพระในละครใน ใช้ผู้หญิงแสดงเป็นตัวพระ โดยแสดงบทบาทลีลาท่ารําาเป็นผู้ชาย
นางสีดาเป็นตัวนางในเรื่อง รามเกียรต์ิ
พระรามเป็นตัวพระในเรื่อง รามเกียรติ์
ตัวนาง แบ่งตามลักษณะท่ารําาเป็น ๒ แบบ ดังนี้
๑. นางกษัตริย์ มีลักษณะท่ารําาที่อ่อนช้อย งดงาม นิ่มนวล อ่อนโยน เช่น นางสีดา นางบุษบา
๒. นางตลาดมีลักษณะท่ารําาที่กระฉับกระเฉงว่องไวเช่น นางแก้วหน้าม้า นางวัลลา
นาฏศิลป์และการละครของไทย 15