Page 18 - สูจิบัตรการเเสดงศิลปนิพนธ์ รุ่นที่ ๒๐
P. 18
ฟ้อนแพนแบบมีเนื้อร้อง
การแสดงชุด ฟ้อนแพนแบบมีเนื้อร้อง เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาค้นคว้างานวิจัย เรื่อง ฟ้อนแพนแบบมีเนื้อร้อง
ฟ้อนแพนเป็นระบำ เบ็ดเตล็ดชุดหนึ่งที่ประดิษฐ์ขึ้นในยุคของกรมศิลปากร ปี พ.ศ. ๒๔๗๗ แต่เดิมเป็นการฟ้อนประกอบทำ นองเพลงลาวแพน
ซึ่งสันนิษฐานว่ามีที่มาจากเพลงลาวแคนเดิม โดยมีลักษณะการฟ้อนแบบพันทางเชื้อชาติลาว ต่อมาหลวงวิจิตรวาทการ ได้แต่งบทร้องขึ้น
เพื่อรำ ก่อนออกการฟ้อนแพนแบบเดิมในโอกาสที่กรมศิลปากรจะเดินทางไปเผยแพร่วัฒนธรรมยังต่างประเทศ โดยคุณครูลมุล ยมะคุปต์
เป็นผู้ประดิษฐ์ท่ารำ และเรียกการแสดงชุดนี้ว่า ฟ้อนแพนแบบมีเนื้อร้อง ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ โรงเรียนนาฏศิลป์สัมพันธ์จะจัดการแสดงชุดนี้
เพื่อออกอากาศทางช่อง ๔ บางขุนพรหม จึงได้เชิญคุณครูลมุล ยมะคุปต์ เป็นผู้ฝึกซ้อมการแสดง และในงาน ๑๐๐ ปี คุณครูลมุล ยมะคุปต์
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘ วิทยาลัยนาฏศิลป ได้จัดการแสดงชุดนี้ เพื่อเป็นการเผยแพร่และอนุรักษ์ผลงานของท่าน โดยในครั้งนั้นผู้ถ่ายทอด
ท่ารำ คือ นางสัมพันธ์ พันธุ์มณี และนางสาวสุภาพ พันธุ์มณี แห่งโรงเรียนนาฏศิลป์สัมพันธ์