Page 41 - CPS Report 2564
P. 41

  ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
               ❖ โครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร
               1. เป้าหมาย : เกษตรกรในโครงการนำลูกหลานเกษตรกรกลับบ้าน สานต่ออาชีพการเกษตร ๒๐ ราย
               2. ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) :  เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการมีรายได้จากการประกอบอาชีพเกษตร เพิ่มขึ้นร้อย

               ละ ๓

               3. รายละเอียดตัวชี้วัด(KPI Template) :

                     (รายได้ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการฯก่อน ปี ๖๔ – รายได้หลังเข้าร่วมโครงการฯ)* ๑๐๐


                                                     รายได้หลังเข้าร่วมโครงการ

               4. แนวทางการดำเนินงาน :

                       (1) แนะนำส่งเสริมให้เกษตรกรเป้าหมาย จัดทำแผนการผลิต/แผนธุรกิจ และเข้าร่วมกิจกรรมโครงการ
               ส่งเสริมและสร้างทักษะในการประกอบอาชีพทั้งในและนอกภาคเกษตร


                       (2) ประสาน ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสาขาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นในการ
               ดำเนินกิจกรรมด้านการเกษตรของกลุ่มเป้าหมาย ให้ความรู้ คำแนะนำ หรืออำนวยความสะดวกในการสมัครเข้า
               อบรมกับหน่วยงานอื่นๆในเนื้อหาวิชาหรือหลักสูตรที่เกี่ยวข้อง




               ❖ การส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรสู่ระดับชั้นคุณภาพการควบคุมภายใน ระดับพอใช้ขึ้นไป

               1. เป้าหมาย : (ผลลัพธ์หรือประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงานที่เป็นรูปธรรม และสามารถวัดความสำเร็จได้)
                       ในการกำหนดเป้าหมาย เพอยกระดับชั้นของการควบคุมภายในกลุ่มเกษตรกร ที่อยู่ในการกำกับของกรม
                                             ื่
                                   ิ
               ส่งเสริมสหกรณ์  ต้องพจารณาจากองค์ประกอบสภาพการในปัจจุบัน ว่ากลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ ไม่มีงบประมาณ
               ในการจัดจ้างเจ้าหน้าที่สำหรับทำบัญชี ไม่มีการแบ่งแยกหน้าที่ของระหว่างผู้เก็บรักษาเงิน กับผู้จัดทำบัญชี หรือมี

               คำสั่งให้คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่เก็บรักษาเงิน หรือจัดทำบัญชี แต่คณะกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่
               ดังกล่าวตามคำสั่งได้ รวมทั้งคณะกรรมการกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ เป็นผู้สูงวัย ทำให้การขับเคลื่อนระดับชั้น
               คุณภาพการควบคุมภายใน ไม่ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กรมฯ กำหนด ดังนั้น กรมฯ ควรกำหนดแนวทาง
               วิธีการโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ในการขับเคลื่อน ดังนั้น การส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรเข้มแข็ง จะต้องใช้การมี

               ส่วนร่วมทั้งกลุ่มส่งเสริมสหกรณ์ และกลุ่มวิชาการ จะต้องร่วมคิด วิเคราะห์ วางแผน ตามแนวทางหรือคู่มือของ
               กรมส่งเสริมสหกรณ์ เพอที่จะให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์มีแนวทางการส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรที่ชัดเจน และ
                                    ื่
               สามารถทำให้กลุ่มเกษตรกรบริหารงานได้ตามหลักธรรมาภิบาลการควบคุมภายในที่ดี มีความเข้มแข็ง  สามารถ

               เป็นที่พึ่งของมวลสมาชิกได้
               2. ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) :
                       ตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กรมฯ กำหนด เป็นการกำหนดที่มีค่า KPI ที่สูงจนเกินไป หรือเป็นระดับการ
               วัดแบบก้าวกระโดด เกินขีดความสามารถของผู้ปฏิบัติ  เพราะตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) เป็นส่วนสำคัญในการ
               ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสหกรณ์




                    Template รายงานผลการแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564   34 | ห น้ า

                    ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ร
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46