Page 170 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 170
102
อิริยาบถย่อยเวลาจะล้างหน้า แปรงฟัน ทานอาหาร ต่าง ๆ มีสติกากับคอยกากับกาหนดรู้อยู่ เรื่อย ๆ จริง ๆ แล้ว แค่ง่าย ๆ คือพอใจที่จะรู้ตัวเอง พอใจที่จะรู้ทันตัวเอง จะได้ไม่เครียด ถ้าพอใจที่จะ ต้องทาให้เป็น...เดี๋ยวเครียด พอใจที่จะรู้ให้เท่ากันอาการของตนเองแต่ละอาการ เวลาจะทาอะไร พอเรา พอใจเมื่อไหร่จะมีความสนุก มีความสุขกับการรู้เท่าทันอาการของตัวเอง เวลาปฏิบัติธรรมไม่ต้องเครียด เคร่งได้ แต่ต้องเคร่งนะแต่ไม่เครียด คือทาจริงจังแต่ไม่เครียดกับเขา ทาใส่ใจจริง ๆ สนใจจริง ๆ หลุดไป แล้ว มีความสุขยิ้มให้ตัวเองได้ เผลอไปแล้วยิ้ม...เริ่มใหม่...ยิ้ม ยิ้มให้ตัวเองเผลออีกแล้วเริ่มใหม่ เผลออีก แล้วเริ่มใหม่ ไม่มีใครหรอก เริ่มฝึกใหม่ ๆ แล้วจะไม่ลืม ไม่หลุดเลย อย่างนั้นก็ไม่ต้องทาแล้ว
คือเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่เราต้องเริ่มต้นใหม่ให้เร็วขึ้นนะ หลุดไปแล้ว แล้วก็ปล่อยปละละเลยอัน นั้นไม่ดี หลุดไปแล้วเริ่มใหม่ให้เร็วขึ้น นั่นคือวิธีการ ที่เราจะทาให้การปฏิบัติธรรมแบบมีความสุข เหมือน เรากาหนดเวทนาสู้กับเวทนา นั่งยิ้มมองเวทนานี่ไม่ใช่ของเรานะ ดู ๆ ๆ เปลี่ยนแล้ว เดี๋ยว ๆ จะเปลี่ยน แล้ว ใช่ไหม ลองดูสิเชียร์เขานิดหนึ่ง เดี๋ยวก็แรงขึ้น เดี๋ยว ๆ จะแรงขึ้น ถอย ๆ เข้าไปใหม่ รู้สึกว่าเราสนุก กับการกาหนดรู้อาการเปลี่ยนแปลง รู้อาการพระไตรลักษณ์ จะได้ไม่ต้องเครียด
เพราะเราปฏิบัติธรรมเพื่อดับทุกข์ พอออกจากทุกข์ ไม่ใช่ปฏิบัติธรรมเพื่อเพิ่มความเครียดให้ ตัวเอง อันนี้อย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้นการปฏิบัติธรรมจึงให้ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ทาจิตให้ว่าง จริง ๆ แล้ว หลักของวิปัสสนากรรมฐานในเบื้องต้น ท่านจึงบอกว่าให้แยกรูปแยกนาม เขาเรียกนามรูปปริจเฉทญาณ ญาณคือการกาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างรูปกับนาม คือกายกับจิต ให้กาหนดรู้ถึงความเป็น คนละส่วน ระหว่างกายกับจิตให้แยกกัน ที่นั่งอยู่พวกเราเก่งยกจิตขึ้นสู่ความว่างได้เลย ได้ยินมาแบบนั้น นะ อาจารย์ได้ยินมา เขาว่ามา ไม่รู้ยกได้จริงหรือเปล่า เดี๋ยวได้รู้กันล่ะ...พรุ่งนี้
เพราะฉะนั้นถ้าเรากาหนดอารมณ์ กาหนดอาการทางกายเวทนาจิตธรรมด้วยจิตที่ว่าง ว่างจาก ตัวตน แล้วยกจิตขึ้นสู่ความว่างปุ๊บ เป็นการแยกรูปนามโดยปริยาย เป็นการแยกกายแยกจิต แล้วเข้าไป กาหนดจิตที่ว่าง ๆ เข้าไปกาหนดรู้อาการเกิดดับของเวทนาที่เกิดขึ้น เข้าไปกาหนดรู้ว่า อาการเกิดดับของ ลมหายใจที่กาลังเป็นไปอยู่ กาหนดอาการพองยุบ จิตที่ว่าง ๆ เข้าไปรับรู้กาหนดรู้อาการเกิดดับของความ คิด แล้วก็จะเห็นว่าจิตที่ว่าง จิตที่เบาของเราใหญ่กว่าเรื่องที่กาลังคิด ความคิดเกิดอยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ ความคิดเกิดดับแบบนี้ สนุกกับการกาหนดรู้ กลายเป็นว่าสนุกกับการปฏิบัติธรรม มีความสุขกับการศึกษา ธรรมะ การพิจารณาคาสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทาไมพระองค์จึงตรัสว่าขันธ์ทั้ง ๕ เป็นของไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นอนัตตา และขันธ์ทั้ง ๕ ก็เป็นชีวิต เรา...เป็นชีวิตเรา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือรูป ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือเวทนา ขันธ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสัญญา ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นคือสังขาร ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่ง ความยึดมั่นคือวิญญาณ บางทีเราไม่ยึดร่างกาย ไม่ยึดความคิด แต่ยึดตัวเอง ยึดตัวรู้ ฉันรู้นะ ฉันเป็น ฉันไม่เคยตาย คือตัวจิตตรงนี้จะไม่มีอาการเกิดดับเลย รู้แต่ว่าเป็นจิตดวงเดียวรู้ตลอดเวลา ก็ยึดเอาจิต ดวงนี้เป็นเราอีก แต่จิตดวงนี้พระพุทธเจ้าตรัสว่า จิตที่ทาหน้าที่รู้นี่นะหนึ่งลัดนิ้วมือเดียวเกิดแสนโกฏิดวง คือเกิดดับตลอดเวลา ไม่ใช่แบบเป็นจิตดวงเดียวเป็นเราอยู่