Page 586 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 586
518
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญญาที่พิจารณาเห็นชัดถึงกฎไตรลักษณ์ ความเป็นไปตามธรรมชาติของ รูปนาม ว่ามีความเปลี่ยนแปลง มีความเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป ในลักษณะอย่างไร ตรงนี้ อีกอย่างหนึ่งก็คือ การรู้แบบนี้ ผลที่ตามมาก็เป็นเรื่องของจิตอย่างหนึ่ง คือสภาพจิตใจ ทาให้สภาพจิตมีจิตใจ มีความสงบ มีความตั้งมั่น มีความผ่องใส มีความว่าง มีความโล่ง ความเบาเกิดขึ้น นั่นคือผลที่จะเกิดขึ้น ผลที่ตามมา
เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรม การเจริญกรรมฐานนั้น จึงสาคัญที่ผู้ปฏิบัติจะต้องใส่ใจ เข้าไป กาหนดรู้อารมณ์ปัจจุบัน ให้ต่อเนื่องอยู่เนือง ๆ ตลอดเวลา นั่นคือหลักในการปฏิบัติ นอกจากอาการทาง กายแล้วมีอะไร ตรงนี้เรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน อีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน เวทนาก็มีอยู่สองทางคือ เวทนาทางกายอย่างหนึ่ง กับเวทนาทางจิต หรือเวทนา ทางใจของเรา คาว่าเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน ตามกาหนดรู้อาการของเวทนา ที่กาลังปรากฏเกิดขึ้น ว่ามี ความเป็นไป มีความเปลี่ยนแปลง หรือเกิดดับในลักษณะอย่างไร หลักของวิปัสสนากรรมฐาน คือหลัก เดียวกัน
หลักเดียวกัน ตรงที่มีเจตนาเข้าไปกาหนดรู้ อาการพระไตรลักษณ์ อนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ อนัตตลักษณะ คือความแปรปรวน ความเปลี่ยนแปลง การเกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วก็ เปลี่ยนไปตามเหตุปัจจัยของตน ตรงนี้ จะทาให้ผู้ปฏิบัติจะเข้าใจคาว่า คาว่าเหตุปัจจัยของอารมณ์ที่เกิดขึ้น สภาวธรรมที่เกิดขึ้น อาศัยเหตุปัจจัยอะไรถึงเป็นไปแบบนี้ ถึงเปลี่ยนแบบนี้ ถึงเกิดขึ้นแบบนี้
ถา้ เราพจิ ารณาใหแ้ ยบคาย ใหช้ ดั เจน กจ็ ะเขา้ ใจไดว้ า่ สภาวธรรมทเี่ กดิ ขนึ้ มา อาการเวทนาทปี่ รากฏ ขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นเวทนาทางกาย หรือเวทนาทางใจ ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยของตน ไม่ว่าจะเป็นอาการของ กาย อาการของกายก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย ณ ขณะนั้น ๆ ว่ามีปัจจัยอะไรเกิดขึ้น ในทีนี้จะพูดถึงว่า คาว่า เวทนาที่เป็นอารมณ์กรรมฐาน เอามาเป็นอารมณ์กรรมฐานได้อย่างไร ก่อนอื่น ต้องแยกระหว่างเวทนาทาง กาย กับเวทนาทางจิต เวทนาทางกายมีอะไรบ้าง เวทนาทางกาย มีความปวด ความเมื่อย อาการชา อาการ คัน ตามร่างกายที่เกิดขึ้น
เมื่อมีเวทนา มีความปวด มีความเมื่อย มีอาการชา อาการคันตามร่างกายเกิดขึ้น ตรงนั้นจัดเป็น เวทนาทางกาย หรือเป็นเวทนาของรูป แล้วเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น จะกาหนดเอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน อยา่ งไร การเอามาเปน็ อารมณก์ รรมฐานกค็ อื การยกจติ ขนึ้ สวู่ ปิ สั สนากรรมฐานนนั้ เมอื่ มเี วทนาปรากฏเกดิ ขนึ้ ๆ บรเิ วณสว่ นใดสว่ นหนงึ่ ของรา่ งกายแลว้ มเี จตนาทจี่ ะเขา้ ไปพจิ ารณากา หนดรู้ ดวู า่ เวทนาทกี่ า ลงั ปรากฏ เกิดขึ้นมานี้ มีความเปลี่ยนแปลง มีการเกิดดับเป็นไปในลักษณะอย่างไร นี่คือการยกจิตขึ้นสู่วิปัสสนา
เพราะฉะนั้นจะเห็นว่า เรามีเจตนาที่เข้าไปรู้ ถึงความเป็นอนิจจลักษณะ ทุกขลักษณะ ของเวทนาที่ เกดิ ขนึ้ แตก่ ารกา หนดรเู้ วทนาแบบนี้ จะใหด้ ยี งิ่ ขนึ้ กค็ อื วา่ การพจิ ารณากา หนดรวู้ า่ เวทนาทางกายทเี่ กดิ ขนึ้ กับจิตที่ทาหน้าที่รู้ กับสติหรือจิตที่ทาหน้าที่รู้นั้น เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน หรือคือการพิจารณา ถึงความเป็นคนละส่วนกัน ระหว่างเวทนาทางกายที่เกิดขึ้น กับจิตที่ทาหน้าที่รู้