Page 96 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม
P. 96

28
จากนั้นแผ่พลังบุญจิตที่เป็นบุญนี้ให้กว้างออกไป ไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ เป็นการแผ่เมตตา แบบไม่มีขอบเขตไม่มีประมาณ เป็นอัปปมัญญา ให้กว้างเท่าจักรวาลไม่มีที่สิ้นสุด แล้วตั้งจิตอธิษฐานแผ่ บุญกุศลอันนี้ ให้กับผู้มีพระคุณทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ครูบาอาจารย์ ลูกหลาน ญาติสนิทมิตรสหาย เพื่อนร่วมโลกเกิดแก่เจ็บตาย เทวดาทั้งหลายทั้งที่อยู่ ณ สถานที่แห่งนี้และที่อื่น ๆ จงรับรู้ถึงบุญกุศลที่เรา ได้แผ่ไปแล้วนี้ เมื่อรับรู้แล้วก็ขอให้อนุโมทนา เมื่ออนุโมทนาแล้วถ้ามีทุกข์ก็ขอให้พ้นจากทุกข์ ถ้ามีสุขก็ขอ ให้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป ถ้ามีเวรมีภัยต่อกันก็ขอให้อโหสิกรรมซึ่งกันและกัน เพื่อความเจริญความผาสุกในชีวิต ตลอดไป
และสุดท้ายนี้ ก็ขออานิสงส์กุศลผลบุญต่าง ๆ ที่เราได้ทามา ไม่ว่าจะเป็นการให้ทานการรักษาศีล การเจริญภาวนา ที่ทามาและกาลังทาอยู่นี้ จงมาเป็นตบะเป็นพลวะเป็นปัจจัย ให้เราทั้งหลายจงเป็นผู้มี ความเจริญในธรรมยิ่ง ๆ ขึ้นไป ปรารถนาสิ่งใดก็ขอให้สาเร็จสมความปรารถนาทุก ๆ ประการ ตราบเท่า เข้าสู่มรรคผลนิพพาน ด้วยกันทุกคนเทอญ
ปฏิบัติแบบสบาย ๆ กัน ถือว่าเราได้มาเจริญภาวนา เป็นการสั่งสมบุญ เพิ่มปัญญาให้กับตนเอง ในช่วงเวลาที่เรามีอยู่ไม่กี่วันนะ มีอยู่ไม่กี่วัน แต่สิ่งสาคัญก็คือว่า การปฏิบัติธรรม การเจริญสติของเรานี่ นะไม่ได้จากัดเวลา ธรรมะเกิดขึ้นไม่จากัดกาล เพราะฉะนั้นการเจริญสติของเรา ก็ควรจะไม่ต้องจากัดกาล ปัญญาเราจะเกิดขึ้นไม่จากัดกาล ทาตลอดเวลา เวลางานเราก็ควรจะมีสติมีปัญญาพิจารณาควบคู่กันไป การพิจารณาควบคู่กันไปในการปฏิบัติธรรมนี่นะ การใช้ปัญญาในเวลางาน การพิจารณาเรื่องการงานทาง โลกอย่างหนึ่ง การหมั่นสังเกตดูสภาพจิตของตนเองก็อีกอย่างหนึ่ง จริง ๆ แล้ว ควบคู่กันไปตลอดเวลาว่า ขณะที่เราทางาน เราทางานด้วยจิตแบบไหน ทางานด้วยความรู้สึกหรือจิตที่สงบ ทางานด้วยความผ่องใส ทางานด้วยความสุข ทางานแบบไม่มีตัวตน คิดอย่างไม่มีตัวตน คิดอย่างสงบ คิดแบบไม่วุ่นวาย
อนั นนั้ กค็ อื การทเี่ ราพจิ ารณาธรรมไปในตวั การทเี่ ราสงั เกตแบบนเี้ หมอื นเราปฏบิ ตั ธิ รรมไป ควบคู่ กับการทางานในชีวิตของเราเป็นเรื่องปกติ เพราะอะไร เราปฏิบัติธรรมก็คือเจตนาที่จะดับทุกข์ แล้วการ สังเกตอยู่เรื่อย ๆ ดูจิตเราเรื่อย ๆ ว่าตอนนี้มีทุกข์ไหม มีตัวตนไหมมีกิเลสครอบงาไหม ก็เป็นการเจริญ ปัญญา เป็นการปฏิบัติธรรมไปในตัว แล้วเมื่อมีความทุกข์เกิดขึ้นมา เราดับอย่างไร ดับได้ไหม เราพร้อมที่ จะดับความทุกข์นั้นไหม เมื่อเราพิจารณาแบบนี้ เราเห็นว่าเรามีเป้าหมายที่จะดับทุกข์ เมื่อมีความทุกข์ เกิดขึ้น เราดับได้เร็วแค่ไหน นั่นก็คือการเจริญสติ นั่นคือการปฏิบัติธรรมไปในตัว เป็นเรื่องปกติของ ชีวิตเรา ให้ถือเป็นเรื่องปกติ ให้ถือเป็นเรื่องธรรมดา แล้วเราก็จะอยู่กับธรรมะ มีสติคอยคุ้มครองชีวิตเรา อยู่เรื่อย ๆ
เพียงแต่ว่า สภาวญาณหรือปัญญาอย่างหนึ่ง ที่เป็นไปเพื่อความดับทุกข์ที่ละเอียดมากขึ้น ก็คือว่า เมื่อมีอารมณ์เข้ามากระทบทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ หรือมีความทุกข์เกิดขึ้นมา เรารู้ว่าเขาดับแบบไหน ดับ มีเศษไหม หรือดับไม่เหลือเศษเลย ดับเร็วกว่าเดิมไหม หรือดับต่างจากเดิมอย่างไร อารมณ์เหล่านี้ เรา สามารถพิจารณาสังเกตควบคู่กันไปได้เสมอ ไม่มีข้อยกเว้น


































































































   94   95   96   97   98