Page 6 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การเจาะสภาวะ
P. 6

184
เพราะฉะนั้น เมื่อยกจิตขึ้นสู่ความว่างแล้ว จึงบอกว่าให้สังเกตอาการนะ กลับมารู้ ถ้าเคยกาหนด พองยุบ ก็กลับมารู้พองยุบ ทีนี้ เวลาเราเจาะสภาวะแบบนี้ บัลลังก์นี้เราเจาะได้ลึกแค่ไหน ? บอกว่าลึกมาก เลย ลึก ๆ ๆ ไปติดผนังท้อง พองยุบมันยุบ ๆ ยุบ ๆ ๆ ไป เหมือนติดผนังติดข้างหลังไปเลยก็มี อันนี้ เป็นอาการเกิดดับ จริง ๆ แล้วไม่ใช่ลึกแบบนั้นหรอก พอเจาะสภาวะ-ลึกขนาดไหนถึงจะดี ? จริง ๆ แล้ว การเห็นอาการพระไตรลักษณ์ เรามีเจตนาที่จะรู้เกิดดับ อย่างเช่น พองยุบนี่ ยิ่งรู้ยิ่งเข้าไป...ยิ่งเห็นเกิดดับ ยิ่งละเอียด มันยิ่งเบายิ่งมุ่งเข้าไปยิ่งตามรู้เข้าไป ละเอียดแค่ไหนก็ตามรู้ ตามรู้... จนอาการพองยุบมันหาย หมดเลย
พอหายเสร็จ นิ่งใหม่ มีอะไรขึ้นมาในที่ว่าง ๆ เข้าไปรู้อาการที่เกิดในความว่างอีก จะเบาแค่ไหน ก็ตาม ให้มีเจตนาที่จะเข้าไปกาหนดรู้ นี่คือการเจาะสภาวะ ในการกาหนดรู้นี่ จุดหนึ่งก็คือว่าเข้าไปกาหนดรู้ สังเกตว่าเขาเปลี่ยนต่างจากเดิมอย่างไร เขาต่างไปอย่างไร อาการพองยุบหายปุ๊บ มันเงียบ สงบ ทายังไง ดีไม่มีสภาวะให้ดู!? เจาะเข้าไปสิ บางคนพอบอกว่าให้เจาะสภาวะ เจาะไปในความว่างอย่างเดียว เจาะ ๆ เข้าไปในความว่างข้างหน้า ไม่ได้เจาะเข้าไปในความว่างของความรู้สึก หรือไม่ได้เข้าไปดูในความรู้สึกที่ว่าง เพราะฉะนั้น ไปเจาะในที่ว่าง ๆ ข้างหน้าจึงไม่เห็นอะไรเลย อากาศว่าง ๆ นี่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง แต่ถ้า เข้าไปดูข้างในใจเราลึก ๆ...
อ้ะ! นี่ชักสงสัยแล้ว! พออาจารย์บอก ยกจิตขึ้นสู่ความว่าง ให้เอาจิตมาไว้ข้างหน้า พอข้างหน้าว่าง แล้วทาไมข้างหน้าไม่ใช่จิตเรา!? เออ! นะ เริ่มสงสัย... แต่ดีแล้วนะ สงสัยได้ อันนี้ดีเลย จะได้เข้าใจมากขึ้น สังเกตนิดหนึ่ง พอเราจิตข้ึนสู่ความว่าง จิตข้างหน้าว่างหมด กลายเป็นบรรยากาศ แต่ที่ชัดที่สุดก็คือว่า ตรงข้างหน้าว่าง ที่รูปรู้สึกเป็นยังไง ? ที่รูปข้างในบริเวณนี้เป็นที่อาศัยเกิดของจิต เขาเรียกบริเวณหทัยวัตถุ เพราะฉะนนั้ ตรงขา้ งนอกวา่ ง ขา้ งในรสู้ กึ โลง่ เบา ขา้ งในทโี่ ลง่ ๆ คอื อะไร ? คอื สภาพจติ จติ รสู้ กึ โลง่ ขนึ้ เบาขนึ้
ถ้าเราเข้าไปตรงนี้ตรงที่ว่าง ๆ เราจะเข้าไปดูความรู้สึกตัวเอง แต่ถ้าเข้าไปข้างหน้ามันก็จะว่าง ๆ ไป อันนี้อย่างหนึ่งนะ แต่ละขั้นตอนจะต่างกัน จึงให้สังเกตว่าขณะที่ว่าง ๆ หมด ใจเรารู้สึกอย่างไร เห็นไหม ใจรู้สึกอย่างไร... รู้สึกโล่ง รู้สึกสงบ รู้สึกโปร่ง ๆ รู้สึกเบา ๆ ? พอเป็นอย่างนั้นปุ๊บ ลองสังเกตดูว่า ไอ้ที่เบา ที่รูปกับข้างนอก อันไหนชัดกว่ากัน ? บางคนรู้สึกข้างนอก มันสบายกว่าโล่งกว่า แล้วข้างในรู้สึกเป็นไง ? มันนิ่ง ๆ เงียบ ๆ สงบ ๆ เราดูข้างนอก อันนั้นคือบรรยากาศของความรู้สึกเราอยู่ข้างนอก
ข้างในลึก ๆ ใจเราลึก ๆ รู้สึกเป็นไง ? เบาด้วยไหม ? ถ้าเบาด้วย อันนั้นแหละต้องดูว่าไอ้ที่ข้าง ในลึก ๆ เขาอยู่ตรงไหน ? สังเกตไหม ข้างในลึก ๆ นี่มันก็อยู่บริเวณหทัยวัตถุเรา ไม่มีตัวก็ตามแต่ก็คือ บริเวณนี้ ทีนี้พอนิ่งปุ๊บ เข้าไปดูในความรู้สึกลึก ๆ เขาเริ่มมีอาการเปลี่ยนแปลง มีอาการไหว ๆ มีอาการ ขยับนิดหนึ่ง การเจาะสภาวะก็คือ ต้องนิ่ง แล้วก็เข้าไปตามรู้อาการไหว ๆ เปลี่ยนแปลงนิดหนึ่ง นิดหนึ่ง... รู้ไปเรื่อย ๆ จนเขาหมด เรานิ่ง...คอยสังเกตอาการใหม่ที่ปรากฏขึ้นมา เข้าไปรู้ต่อ รู้ต่อ...
การเจาะสภาวะ การมุ่งต่อแบบนี้ ที่จริงแล้วมันประกอบกันหลายอย่าง แต่เราเรียกว่าเจาะสภาวะ บางคนให้มุ่งเข้าไป มุ่งเข้าไป... ก็คือการเจาะสภาวะ; ให้ตามรู้ให้ติด ๆ ๆ ก็คือการเจาะสภาวะ; การเกาะ


































































































   4   5   6   7   8