Page 43 - ดับตัวตน ค้นธรรม
P. 43
ว่าถ้ากาหนดลมหายใจเราก็เล่าลมหายใจ ถ้ากาหนดพองยุบก็บอกว่า กาหนดพองยุบ แค่นั้นเอง
ทีนี้ หกอย่างนี้เราต้องเล่าทุกวันไหม ? ถ้าเล่าทุกวันได้ ดี! เพราะ หกอย่างนี้เป็นอารมณ์ที่เรากาหนดทุกวัน ถ้าไม่มีลมหายใจไม่มีพองยุบ จาเป็นต้องเล่าไหม ? ไม่จาเป็นหรอก แค่พูดถึงนิดเดียวว่าบัลลังก์นี้ ไม่มีพองยุบเลย ลมหายใจก็ไม่มี มีแต่อาการนี้... ไม่ต้องไปคร่าครวญว่า ทาไมไม่เห็น ให้เล่าที่มีก็พอ อย่างเช่น ไม่มีพองยุบ ไม่มีลมหายใจเลย มันมีแต่อาการกระเพื่อม ๆ ๆ เราก็รู้ อ๋อ! เปลี่ยนเป็นกระเพื่อมแล้ว พอดู ไปแล้วมีอาการกระเพื่อม ๆ ก็กาหนดอาการเกิดดับ
อาการเกิดดับที่เราจะรู้ถึงความต่างก็คือว่า ขณะที่มีอาการ กระเพื่อมขึ้นมา เมื่อมีสติเข้าไปกาหนดรู้ตามรู้อาการกระเพื่อม จากที่เขา กระเพื่อมช้า ๆ เขาเริ่มกระเพื่อมเร็วขึ้น ๆ ๆ พอเร็วขึ้นแล้วกลายเป็นขาด ปึ๊บ ๆ ๆ ๆ แล้วก็หมดไป นี่เล่าแบบนี้! พออาการนี้หมดปุ๊บกาหนดอะไร ต่อ... อาการกระเพื่อมหมดไปกลายเป็นค่อย ๆ ผุดขึ้นมา วาบเบา ๆ ทีนี้ เวลาอาการเกิดดับเบา ๆ ช้า ๆ เพื่อเป็นการรักษาเวลาเราก็ไม่ต้องเล่าแบบ มันค่อย ๆ ค่อย ๆ... ใช้เวลาคนอื่นด้วยนะ! แค่บอกว่าอาการเกิดดับ มันเกิดแบบช้า ๆ ค่อย ๆ ขึ้นมาแล้วก็ดับ ค่อย ๆ ขึ้นมาแล้วก็ดับ แล้วก็ เบาลงไปเรื่อย ๆ ช้าลง ๆ ๆ แล้วก็หมดไป
การเล่าสภาวะ เรารู้ว่าเราพูดถึงอะไร เรากาหนดอะไร เขาเกิดดับ อย่างไร เป็นการจัดระเบียบของเราด้วย เราจะจาแม่นขึ้น แล้วสมาธิก็จะ มากขึ้น ความชัดเจนในสภาวธรรมก็จะดีขึ้นด้วย บางทีโยคีจาไม่ได้ก็เลย ใช้เป็นว่าอาจารย์เรียงเอาเองแล้วกัน! บางครั้งก็อย่างนั้นบางครั้งก็อย่างนี้
35