Page 117 - พระอาจารย์เทศน์เนื่องในโอกาสวันสำคัญทางพุทธศาสนา
P. 117
ขันธ์ห้านี้ประชุมรวมกันแล้วก็เรียกว่าเป็นเรา แต่พระองค์ทรง “แยก” ให้พิจารณา พระองค์ทรงตรัสว่า “รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง” เมื่อมีปัญญาเกิดขึ้นมา พิจารณาเห็นความเป็นจริงข้อนี้ จะทาให้จิตเราคลายอุปาทาน ปัญญาเกิด ขนึ้ มาความทกุ ขก์ ด็ บั ไปปญั ญาเกดิ ขนึ้ มากเิลสกด็ บั ไปปญั ญาเกดิ ขนึ้ มา อวิชชาก็ดับไป ไม่ถูกครอบงาด้วยโลภะ โทสะ โมหะ เพราะฉะนั้น ธรรมะ ที่จะพาให้เราพ้นจากทุกข์จริง ๆ ก็คือการรู้ความจริงตรงนี้แหละ ถามว่า ถ้าไม่มีใครสอน เราจะรู้ได้ไหมว่ารูปนี้ไม่ใช่ของเรา รู้ได้ไหมว่าร่างกายนี้ ไม่ใช่ของเรา รู้ได้ไหมว่าจิตใจอันนี้ก็ไม่ได้บอกว่าเป็นเราหรอก จิตตรงนี้ ทาหน้าที่รับรู้ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ?
แต่พระองค์ทรงตรัสรู้ถึงความจริงข้อนี้ ถึงความเป็นอนัตตา ไม่มี ใครเป็นเจ้าของเลย รูปนามกายใจเป็นไปตามวิบากกรรมของแต่ละคน แต่ละคน เกิดขึ้นมาตามเหตุปัจจัยแล้วก็เป็นไป ตรงนี้แหละเป็นสิ่งสาคัญ ว่าพระองค์ตรัสรู้แล้วจึงชี้ทาง เขาเรียก “มรรค ๘” คือแนวทางที่จะดาเนิน ไปสู่ความดับทุกข์ จริง ๆ แล้วมีทั้งมรรค ๘, โพชฌงค์ ๗, อินทรีย์ ๕, พละ ๕ อริยมรรคมีองค์ ๘ ตรงนี้เป็นองค์แห่งการตรัสรู้ เขาเรียก “โพธิ ปักขิยธรรม ๓๗ ประการ” ตรงนี้ต้องมาด้วยกันอาศัยกัน ถามว่า เราจะ แยกอย่างไร ? ไม่ต้องแยกหรอก อย่างเรา ๆ นี่ศึกษาธรรมะ ถ้าอยากให้ งา่ ยกอ็ าจจะไมต่ อ้ งแยกมากกไ็ ด้ สงิ่ ทตี่ อ้ งรู้ สงิ่ ทตี่ อ้ งทา เพอื่ ประโยชนเ์ กดิ ขึ้นกับชีวิตของเรา คือให้มีสติรู้อยู่กับปัจจุบัน
พิจารณามีสติดูกายดูจิตตัวเองที่เป็นปัจจุบัน ในขณะนี้แหละ ที่ บอกว่าเป็นตัวเราของเรานี่ เริ่มพิจารณาด้วยการสังเกต เบื้องต้นเราฝึก ทาสติทาสมาธิของเราให้แก่กล้าขึ้นด้วยการมีอารมณ์หลักให้กับจิตของ
113