Page 241 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 241

223
ก็ต้องรู้ชัดว่า ขณะที่กาหนดเวทนา เวทนาเกิดดับแบบนี้ แบบนี้ สภาพจิต เปลี่ยนไปอย่างไร และจิตที่ทาหน้าที่รู้เกิดดับด้วยหรือเปล่า ถ้าเรารู้ว่ากาหนด อารมณ์อะไรด้วย จะเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เขาเรียก “มีอารมณ์หลักให้กับจิตตัว เอง” และให้รู้ว่าตามรู้อาการเกิดดับของอะไร แล้วจะทาให้สภาพจิตใจของเรา พัฒนาขึ้น เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น
เพราะฉะนั้น สิ่งสาคัญ ขอให้โยคีอย่าลืม! ที่อาจารย์พูดแล้วขานี่ อย่าทิ้งอารมณ์กรรมฐานนะ ขาจบก็ต้องจบ ก็ต้องเงียบไปเลย ไม่ใช่มีเศษ อารมณ์นะ จริง ๆ ธรรมะพอเราจบปุ๊บ เราดูสภาพจิตเรารู้สึกอย่างไร พอ สงบ ดูที่ความสงบ เวลาปฏิบัติก็ให้รู้ชัด เวลาฟังธรรม ก็ฟังไปด้วยปฏิบัติ ไปด้วยก็ได้ หรือฟังอย่างเดียวแล้วค่อยไปปฏิบัติ ? แต่ถ้าฟังธรรมะ เวลา พูดถึงสภาวธรรม ถ้าไล่สภาวะตาม ทาตามไปด้วย จะดี! จะได้รู้ว่าต่อจาก นี้เป็นอย่างไร เหมือนสภาวะของเราไหม... อ้อ! ตอนนี้เหมือนสภาวะของเรา เลย อาจารย์พูดอย่างไรต่อ เราก็กาหนดต่อไปได้เลย จะทาให้การปฏิบัติของ เราต่อเนื่องไป
มีอีกอย่างหนึ่ง ข้อนี้สาคัญเหมือนกัน รู้สึกว่าสิ่งที่รบกวนเรานอกจาก ความคิด ก็คือ “เสียง” เวลานั่งกรรมฐาน เสียงนี่มีปัญหามากเลย พอนั่ง ๆ เสียงดัง ก็องแก๊ง ก็องแก๊ง หน่อยหนึ่ง ก็รู้สึกราคาญจังเลย ทาอย่างไร ? วิธีก็คือว่า เมื่อเสียงดังขึ้นมา ก็นิ่ง สังเกตเสียงนี้ดังแล้วดับอย่างไร เสียงนี้ ดังแล้วดับอย่างไร... เสียงดังเกิดขึ้นมาเกิดดับอย่างไร แค่นั้นเอง! เราก็จะไม่ ราคาญเสียง เพราะถ้าเราราคาญมาก ๆ ก็ไม่ดี มันเป็น ๒ แรงบวก เสียงก็ ดัง จิตเราก็กระสับกระส่าย... ความกระสับกระส่ายของเราก็ทาให้บรรยากาศ วุ่นวายมากขึ้น แต่ถ้าเสียงดังแก๊งจบปุ๊บ จะแก๊งดังแค่ไหนก็ตาม ถ้าสงบ เสียง นั้นก็จะดังในความสงบ
วันนี้พูดสัพเพเหระ ให้เกร็ดความรู้บางอย่างในการปฏิบัติ เผื่อว่าโยคี เอาไปต่อยอดการปฏิบัติต่อไปได้ การแสดงธรรมมาก็เห็นว่าสมควรแก่เวลา


































































































   239   240   241   242   243