Page 239 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 239
221
ลองดูสิ เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก พอถามปุ๊บ ทันทีเลย! ไม่ต้อง รออาจารย์บอกหรอก ขณะที่เราดูสภาพจิต ลองดูว่า เรานั่งอยู่ที่ไหน ? มีตัว ตนไหม ? ไม่มีตัวตน ใช่ไหม ? ไม่มีความรู้สึกว่าเป็นเรา มีเพียงรูป ๆ หนึ่ง ที่ตั้งอยู่ และมีจิตที่ทาหน้าที่รู้ กาลังฟังสิ่งที่เกิดขึ้น วิธีฟังอย่างไม่มีตัวตน ให้ ความรู้สึกเรากว้างกว่าเสียง หรือถ้ามองมาที่อาจารย์ ให้ความรู้สึกเรากว้าง กว่าอาจารย์ คือให้จิตเรากว้างกว่าอาจารย์ ให้จิตกว้างกว่าเสียง แล้วจะเป็น การรับรู้อย่างไม่มีตัวตน สังเกตดู เมื่อรับรู้อย่างไม่มีตัวตน เสียงมันอยู่ในที่ ว่าง ๆ และอยู่ห่างจากตัว แต่ได้ยินชัด นี่คือการรับรู้อย่างไม่มีตัวตน
เพราะฉะนั้น การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ แบบนี้ ถามว่า เราเอาไปใช้ใน ชีวิตประจาวันได้ไหม ? ถ้าเอาไปใช้ได้นี่ ดีมากเลย! ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ให้เอา ไปใช้ได้ เยอะ ๆ ยิ่งดี เราก็จะรู้สึกว่าเราสบาย รับรู้อย่างไม่มีความทุกข์ รับ รู้ด้วยจิตที่ว่าง เราปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ว่าเราจะเห็นแต่สิ่งดี เราเห็นทั้งสิ่งที่ดี และไม่ดี แล้วยิ่งชัด แต่สภาพจิตเราต่างหากดีหรือไม่ดี เห็นสิ่งไม่ดีแล้วสภาพ จิตใจเราไม่ดีไปด้วยหรือเปล่า ? หรือก็รู้ว่าอันนั้นดีไม่ดี เราเป็นผู้เลือกที่จะ รับสิ่งที่ดีหรือสิ่งที่ไม่ดี นั่นแหละ “เราเป็นผู้เลือก” แต่ส่วนใหญ่ก็เลือกไม่ได้ เพราะเป็นอารมณ์ที่ถูกบังคับ เหมือนเป็นไฟลท์บังคับทั้งนั้นเลย
(โยคีกราบเรียนว่า เห็นอะไรก็สวย เป็นการติดหรือไม่) คนที่เห็นอะไร สวย ไม่ใช่ติด! ไม่อย่างนั้นคนที่ไม่ติดอะไร เห็นอะไรก็ขี้เหร่หมด ไม่ใช่! เห็น ตามความเป็นจริง ใช่ไหม ? เขาบอกว่าสวย สวยแบบบัญญัติ เขาเรียกว่า เห็นตามที่เราเห็น ที่พระพุทธเจ้าเคยชี้ให้พระภิกษุดู ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เธอเห็นภาพอันวิจิตรบนผนังนั้นไหม ภาพวิจิตรเพราะจิตวิจิตร จิตของคน ทาวิจิตร จิตของคนดูวิจิตร ฉะนั้น ภาพนั้นจึงวิจิตร
กลับมาดูง่าย ๆ จิตที่เห็นว่าสวยงาม จิตโยมเป็นกุศลหรืออกุศล ? (โยคีกราบเรียนว่า เป็นกุศล) เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกังวลหรอก ดูสิ ภาพวาด นี้สวยมากเลยนะ งั้นนักปฏิบัติมานี่ก็ติดหมดแหละ ใช่ไหม ? บ่งบอกถึงที่