Page 238 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 238

220
อาการขันธ์ ๆ หนึ่งที่ปรากฏขึ้นมาให้เรารับรู้ หน้าที่ของผู้ปฏิบัติไม่ใช่ปฏิเสธ เขา มีหน้าที่เข้าไปรู้ว่าเขาเกิดแล้วดับอย่างไร
ถ้าเราพิจารณาอยู่เนือง ๆ ว่าไม่มีเรา หรือพิจารณากาหนดรู้ถึงความ ไม่มีตัวตนบ่อย ๆ แล้วกาหนดรู้ถึงความเป็นคนละส่วนระหว่างจิตที่ทาหน้าที่ รกู้ บั อารมณท์ เี่ กดิ ขนึ้ บอ่ ย ๆ เรากจ็ ะอยดู่ ว้ ยความรสู้ กึ ทไี่ มม่ ตี วั ตนไดย้ าวนาน ยิ่งขึ้น และเป็นการรู้ด้วยปัญญา อยู่อย่างมีสติ เมื่อมีอารมณ์ไหนปรากฏ ขึ้นมา ก็กาหนดรู้ว่าจิตกับอารมณ์เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วน หรือ กาหนดรู้ไปเลยก็ได้ว่า เมื่อมีอารมณ์อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น มีสติเข้าไปรู้ ว่าอารมณ์นั้นเกิดและดับในลักษณะอย่างไร กระทบใจเราไหม หรือจิตที่เรา เข้าไปรู้ดับด้วยหรือเปล่า
ถ้าเรามีเจตนาอย่างนี้ เราจะเป็นผู้เจริญวิปัสสนาอยู่ตลอดเวลาใน ชีวิตประจาวัน แล้วเราก็จะไม่มีเงื่อนไขให้ตัวเองว่าไม่มีเวลาเลย ใช่ไหม ? ไม่มีเวลาเจริญสติเลย... แล้วเอาอะไรรับรู้ล่ะ ? แสดงว่าความเป็นอยู่ทุก วันนี้ไม่ใช้สติกันเลย ? จริง ๆ เราใช้สติ เพียงแต่ต่างกันที่เจตนา เราใช้สติ ในการรับรู้อารมณ์ทุกอย่างเหมือนกัน ต่างกันที่เจตนาว่าจะรู้อะไร จะรู้แบบ ไหน จะรู้แบบบัญญัติรู้เรื่องราว หรือเข้าไปรู้อาการพระไตรลักษณ์ แค่นั้น เองคือความต่าง
เราจะไปรู้อาการเกิดดับ หรือไปรู้เรื่องราว แค่นั้น! รู้ว่าดีไม่ดี ชอบ ไม่ชอบ แล้วก็ผ่านไป รู้แบบสามัญสติกับรู้แบบโลกุตรสติ รู้แบบโลกุตรสติ เป็นไปเพื่อความหลุดจากอารมณ์อันนั้น หลุดพ้นจากความทุกข์ รู้แบบไหน ? คือการแยกรูปนามนั่นเอง ไม่มีตัวตน เราก็รับรู้ได้ตามปกติ แต่ไม่มีตัวผู้ เข้าไปเสพอารมณ์อันนั้น รับรู้ด้วยจิตที่ว่าง จึงหลุดพ้นจากวงจรของปฏิจจะ ไม่ยาก ใช่ไหม ? ปฏิบัติธรรมไม่ยากหรอก อาจารย์พยายามพูดให้ง่ายที่สุด แล้วนะ ลองพิจารณาดูจริง ๆ สิ ขณะที่เรากาลังนั่งอยู่นี้ สภาพจิตรู้สึกเป็น อย่างไร ?


































































































   236   237   238   239   240