Page 250 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 250
232
ผ่องใส หรือสงบ อย่างใดอย่างหนึ่ง
เมื่อเป็นอย่างนั้น การกาหนดรู้อารมณ์ที่กาลังปรากฏอยู่ในที่ว่าง ก็จะ
เป็นการกาหนดรู้อย่างไม่มีตัวตน ในความว่างที่เกิดขึ้น เรารู้ว่าจิตเราว่าง โล่ง โปร่ง เบา ใส สงบ ตื่นตัว ตั้งมั่น มั่นคง อย่างไรก็ตามให้เรารู้ชัดว่าสภาพ จิตขณะนั้นเป็นอย่างไร และเมื่อมีอาการเกิดดับปรากฏขึ้นมาในความว่าง ก็ ให้มีสติเข้าไปรู้อาการเกิดดับที่ปรากฏอยู่ในความว่างต่อไป แล้วก็รู้ว่าแม้แต่ จิตที่ทาหน้าที่รู้อาการเกิดดับอยู่ในความว่าง มีการเกิดดับด้วยหรือไม่
รู้ว่าคิดอะไร รู้ว่าจิตใจเป็นอย่างไร และรู้ว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้มีอาการ อย่างไร เกิดดับไปด้วยหรือไม่ ๓ อย่างนี้เป็นการดูจิตในจิต ถ้าเราแยกใน ลักษณะอย่างนี้ เราจะเห็นชัดว่าแต่ละอาการที่ปรากฏขึ้นมานั้น ไม่มีอะไรเป็น ของเรา มีแต่เพียงรูปนามที่กาลังเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยอยู่เนืองนิตย์ เพราะฉะนั้น การพิจารณาในลักษณะอย่างนี้แหละที่บอกว่าจิตเราไม่ปรุงแต่ง จิตไม่ประกอบด้วยโลภะ โทสะ โมหะ จิตเป็นกลาง ไม่ยินดียินร้าย แต่รู้ตาม ความเปน็ จรงิ วา่ เขาเปน็ ไปในลกั ษณะอยา่ งไร เพราะไมม่ เี รา มแี ตจ่ ติ ทเี่ กาะตดิ กับอาการเกิดดับขณะหนึ่ง ๆ
สงัเกตง่ายๆขณะทมี่งุ่เข้าไปทอี่าการเกิดดบัแต่ละขณะจตินนั้จะเปน็ จิตอุเบกขาแม้ชั่วขณะหนึ่ง ๆ วิถีจิตชั่วขณะเล็ก ๆ เล็ก ๆ ก็จะนิ่ง นิ่ง นิ่ง แล้วก็รู้อาการเกิดดับไปแต่ละขณะ เพราะฉะนั้น จะไม่ยินดียินร้ายในอารมณ์ แต่หลังจากการกาหนดรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาวธรรมนั้น ๆ แล้ว สภาพ จิตใจเปลี่ยนไปอย่างไรโดยขณะใหญ่ ? อาจจะมีความผ่องใสยิ่งขึ้น โล่งมาก ขึ้น เบามากขึ้น สว่างมากขึ้น สะอาดมากขึ้น หรือสงบมากขึ้น อย่างใดอย่าง หนึ่งเกิดขึ้นได้ เป็นไปตามกาลังของสติ สมาธิ และปัญญาของแต่ละคน ใน แต่ละขณะ
เพราะฉะนั้น การพิจารณาอาการที่ปรากฏขึ้นมา ที่ว่าดูกายในกาย เวทนาในเวทนา ดูจิตในจิต ดูธรรมในธรรม เราต้องรู้เป้าหมายของการปฏิบัติ