Page 278 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 278

260
ก็ตาม เขาก็ยังแสดงอาการพระไตรลักษณ์อยู่เสมอ คือการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป แล้วเขาก็ประกาศตัวเขาเองว่าเป็นอย่างนั้น เป็นอย่างนั้น... ไม่มีใคร เป็นเจ้าของ บังคับบัญชาไม่ได้ และย่อมเปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุปัจจัย อยู่เนือง ๆ นั่นเอง
ฉะนั้น ที่เรามาปฏิบัติธรรม เจริญกรรมฐาน ก็เพื่อพิจารณาให้รู้สภาวะ ตามความเป็นจริงของรูปนามขันธ์ ๕ นั่นเอง ว่าเป็นไปในลักษณะอย่างไร เหมือนดั่งที่พระพุทธองค์ทรงตรัสเอาไว้ว่า รูปนามขันธ์ ๕ ล้วนตั้งอยู่ในกฎ ของไตรลักษณ์ คือความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ความเป็นอนัตตาของ อารมณ์อย่างหนึ่งคือ เราบังคับไม่ได้ และอนัตตาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ใช่ ของเรา ไม่มีเรา แต่ถ้าเมื่อไหร่เข้าไปสาคัญผิด คิดว่ารูปนามอันนี้เป็นของ เรา ก็จะเป็นการเข้าไปยึด แล้วอุปาทานเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ตัณหาเกิดขึ้น ความทุกข์ก็ตามมา
เพราะฉะนั้น การรับรู้อารมณ์ต่าง ๆ การปฏิบัติธรรมของเรา ให้เรา พิจารณา หมั่นระลึกอยู่เสมอว่า เราจะมีสติกาหนดรู้ทุก ๆ อาการของเรา ไม่ ว่าจะอยู่ในอิริยาบถไหนก็ตาม เรามีเจตนาที่จะใส่ใจดูรูปนาม ดูกายดูจิตของ เราว่าเป็นอย่างไร จิตทุกข์ขึ้นมาแล้วทาอย่างไรถึงจะดับได้ง่าย และทาอย่างไร ถึงจะป้องกันทุกข์ไม่ให้เกิดขึ้นมาได้ง่าย เพราะฉะนั้น สิ่งที่เราได้เรียนรู้ ได้ ปฏิบัติ ได้ทา ก็อยากให้เรานาไปปฏิบัติกับชีวิตประจาวันของเรา
การปฏิบัติธรรมให้ถือเป็นเรื่องธรรมดา เป็นเรื่องปกติของชีวิต การ ปฏิบัติธรรมไม่ใช่ภาระ การปฏิบัติธรรมคือสิ่งที่สาคัญสาหรับชีวิตของเรา ถ้าเราบอกตัวเองอย่างนี้ เราจะมีความพอใจในการปฏิบัติ แล้วการปฏิบัติก็ จะกลายเป็นเรื่องง่าย อยู่ที่ไหนก็ทาได้ ไม่มีกฎเกณฑ์ ไม่มีข้อจากัด ไม่ขึ้น อยู่กับกาลเวลา ที่ไหน เมื่อไหร่ก็ทาได้ สติเรายิ่งเกิดขึ้นได้ตลอดเวลายิ่งดี! เพราะฉะนั้น นี่คือสิ่งสาคัญ
เรามาปฏิบัติธรรม เรามาฝึก และเรารู้แนวทางในการปฏิบัติแล้ว ก็


































































































   276   277   278   279   280