Page 462 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 462
444
พี่ ปู่ยาตายาย นึกถึงบุญแล้วน้อมใจไปที่เขา รู้สึกเป็นยังไง ? ใจเราไปถึง ใช่ไหม ? เป็นการแผ่บุญ ให้ได้ทันที โดยที่เราไม่ต้องฝากพระด้วย ทาบุญ ให้ปู่ยาตายาย ฝากพระท่าน ช่วยหน่อยนะ... พระยังไม่รู้ที่อยู่ของท่านเลย เราเป็นญาติกัน แค่เราระลึกปุ๊บ เราก็ไปถึงแล้ว เป็นพ่อเป็นแม่ เป็นพี่เป็น น้อง ปู่ย่าตายาย พอเห็นภาพปุ๊บ น้อมใจปุ๊บ จิตมันจะวิ่งไปทันที จิตเรา มหัศจรรย์คือข้ามมิติได้ แต่ตัวไปไม่ได้ เห็นไหม จิตเราทะลุผนังไปโดย ที่ไม่มีร่องรอย ถ้าตัวเราเดินชนนี่ จะรู้สึกยังไง ? รู้ไหมว่า จิตเราออกทาง ไหน ? ทางตา ทางศีรษะ ตรงหน้าผาก ทางตัว หรือว่าทางไหนก็ไปได้หมด ? นี่คือความพิเศษของจิต
เพราะฉะนั้น การทาบุญ การกรวดน้า การบอกให้พระแม่ธรณี เป็นพยาน อย่างที่พระพุทธเจ้าอ้างถึงพระแม่ธรณีเป็นพยานตอนที่ผจญ มารก่อนตรัสรู้ เราก็ใช้แบบนั้น คนฮินดูกรวดน้าลงไปในแม่น้าคงคา ส่วน คนไทยเราก็ต้องมีที่กรวดน้า เป็นแก้วเป็นอะไรสวย ๆ งาม ๆ บางคน ขณะที่ฟังพระ รับศีล พอพระเริ่มยถา.. โยมก็เริ่มกรวดน้า ทีนี้โยมเสียงดัง กว่าพระ พอพระเริ่ม “ยถา...” โยมก็เริ่ม “อิมินา ปุญญะกัมเมนะ...” พระ ไปไม่ถูก ถามว่า จาเป็นต้องพร้อมกันไหม ? บุญเราไม่ได้หายตอนนั้น หรอก ให้พระให้พร รับพรเสร็จแล้วค่อยกรวดก็ได้ หรือเรากล่าวในใจเรา ก็ได้ เดี๋ยวพระไม่มีสมาธิ เดี๋ยวส่งบุญไม่ถึงอีกนะ
อาจารย์อยู่ทางใต้นี่ พอเริ่มยถา... เขาก็เริ่มจุดธูปเทียน มีหมากพลู มาตั้ง แล้วเขาก็พูดแผ่อุทิศส่วนกุศลยาวเหยียดเลย อาจารย์ให้พรจบแล้ว ก็ยังไม่จบเลย ทีนี้ อาจารย์ก็เลยบอกว่า “โยม เวลากรวดน้านี่ ไม่จาเป็น ต้องรีบหรอก ช้า ๆ ทาใจให้สงบ แล้วพร้อมที่จะกรวด เวลาเราสงบ เรา น้อมถึงบรรพบุรุษเรา จะนึกถึงได้ง่าย ๆ แล้วอยู่ใกล้ ๆ เพราะสมาธิของ เรา ถามว่า พระจะแผ่เมตตาอุทิศส่วนกุศลได้ยังไง ? ก็อาศัยกาลังของสมาธิ เหมือนกันนั่นแหละ จิตของเรากับจิตของพระ ถ้ามีสมาธิเท่ากัน ก็เหมือนกัน