Page 464 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 464

446
ความไม่เที่ยงของเวทนา ๓) กิเลสไม่เกิด ความขุ่นมัวของจิตใจไม่เกิดขึ้น จิตกลายเป็นใสขึ้น เป็นการขัดเกลาจิตใจตัวเอง ตบะเป็นธรรมเครื่องเผา กิเลสอย่างยิ่ง ตบะ ก็คือ ความตั้งมั่นของจิต เพราะฉะนั้น การสู้กับเวทนา จิตเราจะใส ถามว่า จาเป็นต้องทนไหม ? ถ้าทนแบบนี้แล้วดี แต่ถ้ากัดฟัน ทนอย่างเดียว ไม่ดีและไม่จาเป็น
เรามายกจิตขึ้นสู่วิปัสสนาด้วยการเอาเวทนามาเป็นอารมณ์กรรม- ฐาน ดูกาย เวทนา จิต แล้วก็ธรรม สติปัฏฐาน ๔ ถ้าเขาเกิด ให้พิจารณา เพราะเขาเกิดเอง ไม่ใช่เพราะความอยากของเรา นั่นคือธรรมชาติของรูป เอามาเป็นอารมณ์กรรมฐาน เราก็จะเห็นความจริง อ๋อ! เป็นอย่างนี้เอง เวทนาความปวด เขาบอกว่าเป็นเราไหม ? ความปวดกับจิตเรา มันเป็นส่วน เดียวกันหรือเปล่า ? สังเกตแบบนี้ปุ๊บ ปวดก็ปวดไปสิ จิตก็ส่วนหนึ่ง ปวด ก็อยู่อีกส่วนหนึ่ง พอเรามาดูจิต ปวดก็ปวด แล้วจิตเป็นยังไง ? จิตมันแวบ แวบ แวบ แวบ เราก็รู้จิตไป จิตแวบ ๆ มันเกิดดับ ก็เกิดดับไป ก็ธรรมชาติ เขาเกิดดับ
เราปฏิบัติเพื่อไม่ให้เกิดทุกข์หรือกิเลส ฉะนั้น เวทนาเกิดขึ้น ถ้าเราใช้ ความชอบไม่ชอบเข้าไป นี่คือ “ตัวกิเลส” แต่ถ้าพิจารณารู้เขาเกิดดับอย่างไร จะไม่เกี่ยวกับกิเลส ไม่เกี่ยวกับความชอบหรือไม่ชอบ แต่มี “ตัวฉันทะ” ก็คือ ตัวพอใจที่จะรู้ความไม่เที่ยง ตรงนี้ปัญญาก็จะเกิดขึ้นมา อันนี้จะได้ประโยชน์ เราดูความไม่เที่ยง พอรู้เขาหายไปแล้ว เป็นยังไง ? เขาจะหายไปตอนไหน ? นี่ยังมีพิสดาร
เพราะฉะนั้น ถ้าเราพิจารณาแบบนี้ สติเราอยู่กับปัจจุบัน จะมีสิ่งให้ ตามรู้เรื่อย ๆ แล้วจะไม่จาเจ บางทีเรารู้สึกลมหายใจหายไป มีความปวด เราก็รู้อาการเกิดดับของความปวด แล้วอีกอย่างหนึ่ง มากกว่านั้นอีก ก็คือว่า ความปวดเขาเกิดดับ แล้วจิตที่รู้ว่าปวด เขานิ่ง ๆ หรือว่ารู้แล้วเขาดับไปด้วย ? พอความปวดดับ จิตดับไหม ? ความปวดดับ จิตดับไหม ? นี่คือสิ่งที่เรา


































































































   462   463   464   465   466