Page 465 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 465

447
ต้องสังเกต
โยคี : ความปวดนี่หนัก ๆ ทายังไง ?
พระอาจารย์ : ไม่เที่ยงหรอก หาย! เขาหาย เป็นสภาวะ หาย! โยคี : ไม่ต้องเปลี่ยนท่า ?
พระอาจารย์ : ไม่ต้องเปลี่ยนท่า แต่ถ้าทนไม่ไหวจริง ๆ ขยับได้ เปลี่ยนได้ ไม่บังคับนะ เราพิจารณาตัวเราเองว่า ทนถึงที่สุดแล้วนะ ไหวแค่นี้ ค่อย ๆ ขยับ แล้วเปลี่ยนท่าไปได้ ที่ถามว่า จาเป็นต้องทนไหม ? ทนเท่า ที่ทนได้ ถ้าทนได้มาก สติก็จะดีมากขึ้น จิตเราจะแกร่งขึ้น จิตเราจะเข้ม แข็งขึ้น ปวดตอนร่างกายเรายังปกติ เราทนได้ พอถึงช่วงหนึ่ง เวลาร่างกาย เราไม่ปกติ เราก็จะทนได้เหมือนกัน ฝึกเอาไว้! ฝึก “ขันติ ขันติ ขันติ” “ขันติ ขันติ ขันแตก!” ไม่ไหวแล้ว ต้องลุกแล้ว!
อันนี้เป็นเรื่องธรรมดาว่า ลักษณะของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น ทุกคน ต้องเจอ พระพุทธเจ้าบอกว่า สติปัฏฐาน ๔ ย่อลงมาเหลือ กาย เวทนา จิต แล้วก็ธรรม เพราะฉะนั้น เหลือ ๔ อย่างที่ต้องรู้ แสดงว่า ๔ อย่างนี่เขาต้อง เกิด เพียงแต่ว่าเกิดเมื่อไหร่ อันไหนชัดกว่ากัน แค่นั้นเอง ถามว่า เวทนาจัด เป็นสภาวธรรมไหม ? เขาก็เป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นอาการของร่างกาย เรา สังเกตดูว่า ชีวิตเราก็คือ “ก้อนธรรมะ” ดี ๆ นี่เอง “ก้อนสภาวธรรม” ดี ๆ นี่เอง เพียงแต่ว่าเราทายังไงถึงจะเห็น ? เห็นแล้วทาอย่างไรถึงไม่ทุกข์ ? ง่ายนะ อาจารย์ว่าปฏิบัติธรรมไม่ยากหรอก แต่ยากที่จะได้ลงมือปฏิบัติ อย่า ลืมว่า นาน ๆ เราปฏิบัติที จะให้เป็นแบบเดียวกับคนที่ปฏิบัติทั้งปีก็ไม่ได้
โยคี : อยากทราบว่า ต้องรักษาศีลให้ถึงพร้อม ต้องเมตตาให้เต็ม เปี่ยมก่อนไหมคะถึงจะปฏิบัติได้ ?
พระอาจารย์ : ตอนที่เราสารวมกาย สารวมวาจา ขณะที่นั่งสมาธิ ตรงนี้เขาเรียกว่า “ศีลถึงพร้อม” กายก็สารวม วาจาก็สารวม ตรงนี้ก็ “ถึง


































































































   463   464   465   466   467