Page 460 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 460
442
หรือเฉพาะในห้องพระ เราไม่ทุกข์เฉพาะตอนอยู่ในห้องพระ ก็ไม่ไหว! พอ เข้าห้องพระแล้ว เออ! หายทุกข์... แน่ใจนะ ? ทุกข์มาทั้งวัน พอเข้าห้อง พระ บรรเทาได้หน่อยหนึ่ง... จริง ๆ แล้วต้องเอาไปใช้กับชีวิต ธรรมะเป็น เรื่องของชีวิต พอใช้ “ธรรมะ” ปุ๊บ มันกว้าง ใช่ไหม ? พอใช้ “สติ” ปุ๊บ แคบ ลงมาหน่อย สติเป็นเรื่องจาเป็นสาหรับชีวิต แต่สติแบบไหนถึงจะไม่ทุกข์ ? เราต้องมีเป้าหมาย ต้องบอกตัวเองว่า เราจะไม่ทุกข์ง่าย ๆ เราจะพยายาม ดับทุกข์ของตัวเองให้ได้มากที่สุด
วิธีที่จะไม่ทุกข์ อย่างที่บอกแล้วเมื่อกี้ว่า ทาจิตของเราให้ว่าง ให้กว้าง ต่อไปให้จิตที่เบา ๆ ว่าง ๆ นี่แหละ “ทาหน้าที่รับรู้” ลองดูนะ ขณะที่ได้ยิน เสียงรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นเสียงแอร์ เสียงอาจารย์พูด ถ้าให้จิตที่เบา ๆ กว้าง กว่าเสียงแล้ว จิตใจเรารู้สึกเป็นยังไง ? เสียงนั้นรบกวนไหม ? เสียงที่ได้ยิน รู้สึกหนักหรือเบา ? เบานะ รู้สึกไม่ต่างอะไรกับการดูตัวเอง เหมือนเรานั่ง อยู่ในที่ว่าง ๆ เบา ๆ เพราะจิตประเภทนี้เป็นจิตที่ปล่อยวาง เป็นจิตที่ไม่มี ตัวตน เพราะฉะนั้น รับรู้ทุกเรื่องได้ ไม่ใช่บอกว่า “ฉันจะไม่ดู ไม่รับรู้ อย่า มาให้เห็นนะ” ห้ามไม่ได้ สิทธิของเขา เขาก็เดินมาอยู่ดีนั่นแหละ ใช่ไหม ?
เรารับรู้ยังไงแล้วถึงจะไม่ทุกข์ ? การรับรู้ด้วยจิตที่กว้างกว่า อารมณ์ ให้สติเราใหญ่กว่าสิ่งที่เห็น ใหญ่กว่าเรื่องที่เรากาลังรับรู้ อารมณ์ เหล่านั้นจะไม่บีบคั้นจิตใจเรา ถ้าทาได้อย่างนี้ เราก็จะไม่ทุกข์กับอารมณ์ที่ กาลังเกิดขึ้น เราเป็น “ผู้ดู” เราก็จะเห็นว่าเราก็เป็น “ธรรมชาติ” อย่างหนึ่ง ที่เกิดขึ้นบนโลกนี้ เขาก็เป็น “ธรรมชาติ” อย่างหนึ่งที่อยู่บนโลกนี้ และกาลัง เป็นไปตามเหตุปัจจัย แค่นั้นเอง! เพียงแต่ว่า “ใช้บ่อย ๆ” อันนี้เป็นเบื้อง ต้น ฝึกให้ชานาญ ธรรมะยังมีละเอียดกว่านี้อีก อันนี้เป็นเบื้องต้น แต่ถ้าเอา ไปใช้ได้ ชีวิตก็มีความสุขแล้ว
แต่ที่ละเอียดนี่ค่อย ๆ ไป ไม่เป็นไร ยังมีเวลาอีกเยอะ สัก ๕๐ ปี! แน่ใจนะว่าจะอยู่ถึง ๕๐ ปี ? ยังมีเวลาอีกเยอะ ไม่รู้สาหรับเราหรือใคร ?