Page 459 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 459
441
ว่า “ปล่อยวาง” ก็ได้ ปล่อยวางความรู้สึกว่าเป็นเรา ปล่อยวางความรู้สึก ว่าเป็นเขา ถ้า “โล่ง” ได้ ไม่ผิด แต่ถ้าปล่อยวางแล้วยังเครียดอยู่ อันนั้น ไม่ถูกแล้วนะ สังเกตว่าระหว่าง “ปล่อยวาง” กับ “ปล่อยทิ้ง” นี่ใกล้เคียง กัน ปล่อยวางแล้วเราไม่ทุกข์ ถ้าปล่อยวางแล้วยังเครียดอยู่ จะเป็นลักษณะ ปล่อยทิ้ง ปล่อยวางแต่เรื่องข้างนอก แต่ไม่ได้ปล่อยวางตัวตน ไม่ได้ปล่อย วางความรู้สึกว่าเป็นเรา ไม่ได้เอาเราออก ก็ยังทุกข์อยู่
ที่บอกว่า เราปฏิบัติธรรมให้เห็นสัจธรรม “สัจธรรม” คือ อะไร ? ความไม่มีเรา ความเป็นอนัตตานั่นเอง นี่คือความจริง! สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งหลายทั้งปวงเป็นอนัตตา ทุกอย่างเลยเป็นอนัตตาหมด เพียงแต่ว่า รูปนามนี้เป็นไปตามเหตุปัจจัยเท่านั้นเอง ไม่มีเราแต่เขากาลังเป็นไปตาม เหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น เมื่อไหร่ที่มีเรา ก็จะทุกข์ นิดเดียวเอง! แต่ทีนี้ การที่เราจะละ “ความเป็นตัวตน” ละ “เรา” ให้ได้ง่ายนี่ ก็อย่างที่บอกแล้ว เราต้องฝึกบ่อย ๆ ให้จิตเราออกมาข้างนอก แล้วขยายให้กว้าง ต่อไปใช้ แบบนี้...
ที่บอกว่าให้จิตที่เบา กว้างเท่ากับที่ทางาน เราก็จะทางานอย่างที่บอก เวลาขับรถ ใช้ได้ไหม ? ได้! ให้จิตที่เบา ๆ มาคลุมรถเอาไว้ข้างหน้า แล้ว ก็ขับไปในความว่าง ไม่ใช่รถไม่ติดนะ ถึงแม้รถจะติด เราก็ว่างได้ เราก็จะ สบาย ๆ ไม่เครียด ทาไมติดเยอะขนาดนี้! เกิดอะไรขึ้น! นั่งบ่นอยู่ในรถ คนเดียว คนอื่นไม่ได้ยินด้วยเลย รถข้าง ๆ เขาก็ไม่ได้ยิน เราก็บ่นให้ตัว เองฟัง เราก็เครียดอยู่คนเดียว ไม่ดี! ต้องทาใจให้ว่าง ๆ โล่ง ๆ แล้วจะ ไม่เหนื่อยด้วย เวลาทางานบ้านอยู่ที่บ้าน ทากับข้าว ใช้ได้เลย! แล้วรสชาติ อาหารจะดี ยิ่งใส่ความสุขเข้าไปด้วยนี่... จริง ๆ นะ ลองดู แล้วสังเกตได้ เลยว่ารสชาติจะเปลี่ยน
เห็นไหม ธรรมะเอาไปใช้ได้กับทุกที่ เพียงแต่ว่าเราทาความเข้าใจให้ ถูกตรงนี้ว่า การที่เรามาปฏิบัติธรรม ไม่ใช่ปฏิบัติเฉพาะอยู่ตรงนี้ หรือที่วัด