Page 458 - ธรรมปฏิบัติ 1
P. 458
440
แค่แยกเขาออกจากกัน ให้เขาเป็นธรรมชาติของเขาก็พอแล้ว ไม่ต้องไป บังคับอะไรเลย สังเกตง่าย ๆ ลองพิสูจน์ดูนะ ลองนึกถึงเรื่องที่ไม่สบายใจ สักเรื่องหนึ่งสิ ลองดูว่ารู้สึกเป็นไง ? หนักหรือเบา ? หนัก ใช่ไหม ? (โยคี กราบเรียนว่า หนัก) หนักอยู่ที่ไหน ? (โยคีกราบเรียนว่า อยู่ที่ใจ) ลองดู เอาความรู้สึกว่าเป็นเราออก ออกไปข้างนอก ไปอยู่กว้าง ๆ ลองดูสิ รู้สึก เป็นไง ? (โยคีกราบเรียนว่า รู้สึกเบา)
ขยายใจเราให้กว้างใหม่ ลองดูว่ารู้สึกเป็นไง ? ถ้าเอาความเป็น เราออกได้นี่ เขาเรียก “ละอัตตา” หรือ “ดับตัวตน” นั่นเอง ดับความรู้สึก ว่าเป็นเรา อัตตาเกิดเพราะ “ความไม่รู้” เพราะไม่รู้ว่าจริง ๆ แล้วไม่มีอะไร เป็นของเรา ตรงนี้แหละที่เป็นตัว “มิจฉาทิฏฐิ” เพราะไม่รู้ว่าเป็นธรรมชาติ ไม่ใช่เรา! เพราะฉะนั้น “สัมมาทิฏฐิ” คือ เห็นว่า อ๋อ! “ไม่มีเรา” นะ ตอนนี้ เรา “เห็น” ที่บอกว่ารู้แล้วเข้าไม่ถึง เพราะไม่เห็น รู้ เข้าใจ แต่ไม่เห็น ความ ทุกข์ก็ยังเกิด แต่ถ้ารู้แล้วเห็น ความทุกข์ก็จะหายไป
ที่บอกว่า ลองถามตัวเองดี ๆ สิ “ใคร” เป็นคนทุกข์ ? มีโยคีบางคน พอเขาปฏิบัติไปแล้วเห็นทุกข์เยอะแยะเลย เห็นทุกข์แล้วมานั่งทุกข์ เห็น ทุกข์แล้วทุกข์ทาไม ? เราเป็น “ผู้ดู” ไม่ใช่หรือ ? มานั่งทุกข์ทาไม!! ทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องกาหนดรู้ อ๋อ! ทุกข์เป็นอย่างนี้เอง! ก็ “แยกส่วน” กัน ทุกข์ ไปสิ เราไม่ทุกข์ตาม เดี๋ยวมันก็หาย! ใช่ไหม ? เห็นทุกข์แล้วเราไม่ทุกข์ ตาม เดี๋ยวมันก็หยุดทุกข์เองแหละ อันนี้เหมือนเป็นคาพูดแบบธรรมดานะ ที่จริงแล้วลองสังเกตดี ๆ พอรู้ว่า อ๋อ! ทุกข์เป็นอย่างนี้เอง! แต่สิ่งหนึ่งที่ ต้องรู้ก็คือว่า เราเห็นทุกข์แล้ว “ทาไมถึงทุกข์ ?” อันนี้คือคาถามนะ ต้องถาม ตัวเอง แล้วจะมีคาตอบ...
อ๋อ! ทุกข์เพราะ “เข้าใจผิด” ไปยึดเอาสิ่งนั้นว่าเป็นของเรา ยึดเอา ตัวว่าเป็นเรา ก็เอาความเป็นเราออกเสีย ให้เหลือแต่ตัวที่มันทุกข์อยู่ แล้ว มันก็หายเอง (โยคีกราบเรียนถามว่า ใช้คาว่า “ปล่อยวาง” ได้ไหม ?) ใช้คา