Page 7 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การยกจิตขึ้นสู่ความว่าง
P. 7

3
อันไหนที่ไม่ดีก็ละมันออกไป ข้ามไป ปล่อยให้มันดับไปหายไป... ยิ่งพอใจที่จะรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับ ไปของเขา ยิ่งพอใจที่จะรู้แบบนี้เท่าไหร่ สังเกต จิตใจเรารู้สึกเป็นอย่างไร ?
ทาไมอาจารย์มักจะพูดเสมอว่า ให้สังเกตดู สังเกตดู อยู่เป็นประจา เพราะการสังเกตเราจะได้เห็น ความเป็นจริงว่าเราทาอะไรได้มากแค่ไหน เราสังเกตดูอย่างนี้ ผลที่เกิดขึ้นกับจิตใจเราดีอย่างไร เราวุ่นวาย กบั เขาไหม แตถ่ า้ เราอยากใหเ้ ขาหายเรว็ ๆ ไมอ่ ยากใหเ้ ขาเกดิ ขนึ้ มา ไมอ่ ยากจะคดิ เรอื่ งนเี้ ลย เรากจ็ ะวนุ่ วาย กระสับกระส่าย แทนที่จะเกิดความสงบ แต่ถ้าเราพอใจที่จะรู้ว่าตอนนี้กาลังคิดอยู่ แล้วก็เห็นความจริงว่า ความคิดที่เกิดขึ้นกับจิตเรา เป็นคนละส่วนกัน แล้วเราก็พอใจที่จะรู้ว่าความคิดนี้มาแล้วก็ดับ ความคิด เรื่องนี้มาแล้วก็หมดไป มีแล้วหมดไป มีแล้วหายไปอยู่เป็นประจา มีเกิดขึ้นมาแล้วดับไป เกิดขึ้นมาแล้วดับ ไปทุกขณะ ทุกขณะ...
แล้วลองดูว่า จิตเรารู้สึกสบายขึ้นไหม ? สงบมากขึ้นไหม ? หรือว่าเย็นลงไหม ? หรือวุ่นวายอยู่ ? ทั้ง ๆ ที่มีความคิดเข้ามาเป็นระยะ ๆ แต่พอสังเกตดูใจตัวเองจริง ๆ กลับรู้สึกว่ามันนิ่ง ๆ เริ่มสงบลง เริ่ม เย็นลง ไม่เร่าร้อน ไม่วุ่นวาย ตรงนั้นแหละคือการกาหนดการรู้ นี่แหละคือปัญญาในการพิจารณาถึงความ เปลี่ยนแปลงความเป็นไปไปของสภาวธรรมที่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น ทุกครั้งที่เราปฏิบัติธรรม ทุกครั้งที่เรา เจริญกรรมฐาน ทุกครั้งที่เราต้องการความสงบ ขอให้มีสติและตั้งสติให้ดี พร้อมที่จะรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นมาว่า เขาเปลี่ยนไปอย่างไร ไม่ใช่ไปบังคับหรือปฏิเสธหรือคล้อยตาม แค่พอใจที่จะรู้ถึงการเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป อันนี้พูดถึงเรื่องของความคิด
ทาไมถึงพูดถึงเรื่องความคิดก่อน ? เพราะบางครั้งเราหลับตาลงปุ๊บ ความคิดจะมาก่อนอาการอื่น เลย พอว่างปุ๊บความคิดก็มาเลย แล้วยังมีอาการอื่นอีกไหมที่จะเกิดขึ้นมาให้เราได้รับรู้ ? นอกจากความ คิดแล้ว ก็จะมีเวทนา มีอาการปวด มีอาการเมื่อย มีอาการชา หรือมีอาการคันตามร่างกายของเรา ไม่ว่า จะเกิดที่เข่า เกิดที่หลัง เกิดที่ไหล่ เกิดที่จุดกระทบ เกิดที่ไหนก็ตามนั่นก็คือสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เขาเรียก ว่าเป็นเวทนาที่เกิดกับกาย เวทนาเองก็เป็นสภาวธรรม ทาไมถึงเรียกว่าสภาวธรรม ? เพราะเป็นธรรมชาติ ของร่างกาย และเขาเกิดขึ้นจริง ๆ เกิดขึ้นกับทุกคน ไม่ได้เลือกคน ไม่มีใครเลยที่ไม่เจอกับเวทนาแบบนี้ น้อยเต็มทีน้อยมาก...แทบจะหาไม่เจอ ทุกคนเจอเวทนา เพียงแต่ว่าเจอจากสาเหตุอะไรเท่านั้นเอง
ในขณะที่เราเจริญภาวนา เมื่อมีเวทนาเกิดขึ้น ถ้าเราไม่เข้าใจ เราก็จะกังวลว่าความปวดทาให้เรา ทรมาน ทาให้เราหงุดหงิด บีบคั้น ทาให้จิตใจเราไม่สงบ ถามว่า เวทนากับจิตที่ทาหน้าที่รู้/ความปวดกับจิต ทที่ า หนา้ ทรี่ ู้ เขาเปน็ สว่ นเดยี วกนั หรอื คนละสว่ นกนั ? เราจะพจิ ารณาอยา่ งไร ? กไ็ มต่ า่ งอะไรกบั การกา หนด รู้ความคิดหรอก เราก็กาหนดรู้แบบเดียวกันนั่นแหละ ขนาดความคิดเป็นเรื่องของจิตแท้ ๆ เรายังกาหนด ได้ เห็นได้ว่าความคิดที่เกิดขึ้นกับจิตเป็นคนละส่วนกัน แล้วเวทนาความปวดเขาอาศัยร่างกาย ไม่ใช่อาศัย จิตเรา จิตทาหน้าที่รับรู้เท่านั้น ทาไมเราจะกาหนดรู้ถึงความเกิดขึ้น-ตั้งอยู่-ดับไป หรือความเป็นคนละส่วน ระหว่างจิตกับเวทนานั้นไม่ได้ ? นี่แหละคือคาถาม


































































































   5   6   7   8   9