Page 21 - มรรควิถี
P. 21
หลักของการยกจิตก็คือ ดูอาการเกิดดับของนาม ใหเรารูถึง การเปลี่ยนแปลง รูทันอาการเกิดดับ อาการเกิดดับของรูปนามจัดเปน วิปสสนา ใหมุงเขาไปในความเกิดดับ ยิ่งเห็นอาการเกิดดับจิตยิ่งมีกําลัง ยิ่งนิ่ง ขณะที่จิตเรานิ่งเราจะเห็นนามกับกําลังเกิดดับพรอมกัน ซึ่งเปน ตัวสงใหเกิดปญญา ทําใหปฏิบัติไดไวขึ้น กําลังที่เกิดขึ้นจะตั้งมั่นได ตองอาศัยความศรัทธา ความพอใจ ความเพียร ยิ่งเรามีศรัทธามาก เทาไหร เราก็จะยิ่งมีกําลังมากขึ้นเทานั้น ความเพียรที่มีอยูแลวจะยิ่ง มีมากขึ้น ปญญาก็เกิดไดงาย
ขณะปฏิบัติเราตองรูวา อารมณไหนควรกําหนด อารมณไหนไม ควรกําหนด บางครั้งเราพยายามที่จะไปกําหนดอารมณที่ไมชัดเจน อารมณที่ชัดเจนเรากลับไมกําหนด พยายามที่จะทิ้งเพราะไมชอบ ตรงนี้ ไมถูก ขณะที่เราดูสภาวะแลวมีอาการเบาลง ๆ อารมณใหมปรากฏขึ้นมา ชัดเจนกวา แทนที่จะไปกําหนดอารมณใหม เรากลับไปยึดติดอยูกับ อารมณเกา อารมณไหนชัดเจน ใหเราเปลี่ยนไปกําหนดอารมณนั้น ซึ่ง เปนวิธีที่ถูกตอง อยาบังคับจิตของเราใหเลือกอารมณ ขณะที่อารมณ ปรากฏ จิตที่ทําหนาที่รูไดเกิดขึ้นแลว จึงไมควรเลือกวาดีหรือไมดี เพราะขณะที่อารมณเกิดขึ้น จิตที่ทําหนาที่รูก็ปรากฏพรอมกันทันที ถาเราสังเกตแบบนี้ อารมณตาง ๆ ที่เกิดขึ้นจะไมสับสน อารมณตาง ๆ ไมไดเกิดขึ้นทีเดียวหลาย ๆ อัน หลาย ๆ อารมณ แตละอารมณที่เกิดขึ้น มีแลวแวบหาย แวบหาย อันนี้ตองตามใหทัน
ถาอารมณใหมหมดไป อารมณเกายังมีอยู ใหเรากลับมาดูอารมณ เกาวามีอาการอยางไร ? ไมใชวาอันนี้ยังอยูอันใหมยังไมเกิด เราก็มุงไป หาอารมณใหม เพราะเราไมชอบอารมณเกา ขณะที่เราหาอารมณสติ จะออน กําลังจะดึง ๆ รั้ง ๆ เดี๋ยวก็ไป เดี๋ยวก็กลับ ไปกลับ ไปกลับ เปน สองอารมณ สติก็ไมมั่นคง จิตก็ไมมั่นคง ความสับสน ความเครียด
7