Page 172 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 172

480
ความอึดอัด ความไม่สบายใจ ก็จะดับไป ไม่มีอะไรให้เรายึด แต่ถ้าเราไม่พิจารณา หรือไม่เห็นชัด หรือไม่ ใสใ่จกจ็ะมผีสัสะเมอื่มผีสัสะขนึ้มามตีวัตนเกดิขึ้นทกุขเวทนากเ็กดิขนึ้มาความไมส่บายใจเกดิขึ้นความ อึดอัด ขัดเคืองใจเกิดขึ้น เพราะมีเรา
ทาไมถึงอึดอัดขัดเคืองใจเกิดขึ้น...มีเราเกิดขึ้น เพราะความไม่เข้าใจถึงธรรมชาตินั่นเอง ไม่ใช่เกิด จากอะไร พระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากบุคคลอื่นทาให้ ความทุกข์ไม่ได้เกิดจากเราเป็น คนกระทา ความทุกข์ที่เกิดขึ้นมาก็ไม่ได้เกิดจากเรา และพวกบุคคลอื่นกระทาร่วมกัน แต่ความทุกข์ที่ เกิดขึ้นมาได้เพราะ...ปัญญา เพราะอวิชชาที่ไม่มีปัญญา ที่จะรู้ตามความเป็นจริง เพราะไม่มีปัญญาที่รู้ตาม ความเป็นจริง
ความเปน็ จรงิ อนั นนั้ คอื อะไร ความเปน็ จรงิ ของรปู นาม ทไี่ มไ่ ดบ้ อกวา่ เปน็ เรา เปน็ ของวา่ งเปลา่ เปน็ อนัตตาแบบนี้แหละ เพราะไม่เห็นถึงความว่าง ความไม่มีตัวตน เลยคิดว่าเป็นของเราอยู่เรื่อย ๆ มีผัสสะ ขึ้นมา ก็คิดว่าเป็นของเรา มีเสียงกระทบมา กระทบเรา ความคิดขึ้นมาก็เป็นของเรา เราเป็นคนคิด พอเป็น แบบนี้อยู่เรื่อย ๆ ก็ปรุงเเต่งสารพัด แล้วปรุงแต่งไปปรุงแต่งมา ตัวเวทนาทางจิตก็เกิดขึ้น ปรุงแต่งด้วย อะไร เขาเรียกปรุงแต่งด้วยอวิชชา เพราะความไม่รู้
ไม่รู้ว่าอะไร ไม่รู้ว่าการปรุงแต่งแบบนั้น นามาซึ่งความทุกข์ การปรุงแต่งแบบนั้น นามาซึ่งความไม่ สบายใจ ทีนี้ถ้าไม่ปรุงแต่ง แล้วเราจะทาอย่างไร การที่ไม่ปรุงแต่งก็คือ การที่รับรู้ด้วยจิตที่ว่าง ที่สงบ แล้วรู้ ตามความเป็นจริง พิจารณาดูว่า ณ ขณะนี้ มีเหตุปัจจัยนี้ขึ้นมา ควรทาอย่างไร เมื่อเรามีเจตนาแบบนี้ มี เจตนาที่จะรู้ถึงสัจธรรมแบบนี้ จะทาให้เราสงบขึ้นด้วย จะทาให้เราเป็นคนใจเย็นขึ้นด้วย รู้จักตรึกตรอง พิจารณาให้ดี ในการรับรู้อารมณ์ที่เข้ามากระทบ ผัสสะที่เกิดขึ้น เพื่อทาความเข้าใจ และก็พิจารณา จัดการ ให้เหมาะสมกับเหตุปัจจัย ที่กาลังปรากฏเกิดขึ้นอยู่
แต่ที่สาคัญที่สุดก็คือว่า การรับรู้อารมณ์นั้น ๆ ถ้าเรารับรู้ ด้วยความรู้สึกที่กว้างกว่าอารมณ์นั้น ให้ ความรู้สึก หรือจิตกว้างกว่าอารมณ์ที่เกิดขึ้น กว้างกว่าภาพที่เห็น กว้างกว่าเสียงที่ได้ยิน กว้างกว่าความ คิดที่เกิดขึ้น กว้างกว่าตัวอยู่เนือง ๆ อยู่บ่อย ๆ ตรงนี้เป็นการประคองจิต เป็นการรักษาจิต เพื่อที่จะไม่ให้ ตกไปสู่ที่ต่า ถึงแม้รูปจะเป็นอย่างไร มีเวทนาทางกายเกิดขึ้น มีความปวด ปวดแข้ง ปวดขา ปวดตัว ความ ปวดเหล่านั้น ก็เป็นเวทนาทางกาย ซึ่งเป็นสภาวธรรมอย่างหนึ่ง เป็นขันธ์ ๆ หนึ่ง ของขันธ์ทั้ง ๕ ย่อมเกิด ขึ้นมาทาหน้าที่ของตน เป็นเรื่องปกติธรรมดา
เมื่อมีเวทนาแบบนั้นเกิดขึ้นมา หน้าที่ของเรา ควรทาอย่างไรดี หน้าที่ของเรา เพื่อที่จะไม่ให้เวทนา นั้น บีบคั้นจิตใจจนเกินไป หรือเพื่อไม่ทุกข์กับเวทนา จริง ๆ แล้ว ควรทาอย่างไร ก็ทาแบบเดียวกันกับ ตามกาหนดรู้ลมหายใจนั่นแหละ การที่เรารู้ลมหายใจแบบไหน เรามีสติตามกาหนดรู้ลมหายใจ ว่ามีการ เปลี่ยนไปอย่างไร ลมหายใจเบาไป จางไป เดี๋ยวก็แรงขึ้น เดี๋ยวก็เบาไป จางไป ว่างไป ดูเวทนา ดูความปวด ก็เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การที่ทาให้จิตเรา หรือความรู้สึกกว้างกว่าเวทนา กว้างกว่าตัวได้ เราก็ จะเห็นเวทนาอาศัยร่างกายเกิดขึ้น


































































































   170   171   172   173   174