Page 85 - ๕๐ ปี ๑๐๐ สัจธรรม-การพิจารณาสภาวธรรม
P. 85
393
เพราะฉะนั้นพระพุทธเจ้าจึงแยก จึงพิจารณาจึงแยกออกมาให้เราเห็น รูปนามขันธ์ ๕ เป็นอะไร มีอะไรบ้าง ที่เป็นที่ตั้งแห่งการยึดมั่นถือมั่น ให้บุคคลเข้าไปยึดมั่นถือมั่น รูปนามก็คือเรื่องของรูป ก็คือ ร่างกายของตัวเราที่กาลังนั่งอยู่ รูปคือภาพที่เห็น รูปคืออารมณ์ที่กาลังกระทบ เป็นเสียงที่ได้ยินนะ ภาพที่ เห็น เสียงที่ได้ยิน กายที่นั่งอยู่ นี่คืออาการของรูป ลมหายใจก็เป็นอาการของรูป อะไรที่เกิดขึ้นตามร่างกาย ตรงนี้ องค์ประกอบที่เกิดขึ้นมาจัดเป็นรูป ตรงนี้จึงเป็นธรรมชาติของรูปที่เกิดขึ้นมา แล้วนามคืออะไร นาม ก็คือจิต จิตที่ทาหน้าที่รู้ รู้ว่านั่งอยู่ รู้ว่าได้ยิน รู้ว่าเห็น รู้ว่าเคลื่อนไหว นั่นคือตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้
เพราะฉะนนั้ สงั เกตดวู า่ กายกบั จติ เขาเปน็ สว่ นเดยี วกนั หรอื ไม่ ทา ไมถงึ ถามวา่ จติ กบั กาย หรอื กาย กับจิตเป็นส่วนเดียวกันหรือไม่ เพราะอะไร เพราะเรารู้สึกว่ารูปนามกายใจร่างกายอันนี้นี่นะ เป็นของเราอยู่ เสมอ เราเป็นผู้เห็นเป็นผู้ได้ยิน เราอันนี้ก็คือร่างกาย รูปนี่นะเหมือนกับตัวเรากับรูปเป็นส่วนเดียวกัน แล้ว ก็เหมือนกับว่า จะมองอะไรก็เราเป็นผู้เห็น เราเป็นผู้รู้ทั้งหมด เราเป็นผู้เห็นเราเป็นผู้รู้ แต่ในขณะเดียวกัน เวลาหลับตา ไม่ต้องมองภายนอก ตัวรู้ก็ยังทาหน้าที่รู้อยู่ แล้วเราอยู่ตรงไหน เราเอาจิตที่ทาหน้าที่รู้กับตา กับตัว เป็นส่วนเดียวกันหรือคนละส่วนกัน นี่คือการสังเกต เขาเรียกพิจารณารูป ที่เป็นตัวที่นั่งอยู่ก็เป็นรูป ขันธ์
แล้วตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้ ถามว่าเขาอยู่ในตัวตลอดเวลาไหม เป็นส่วนเดียวกันตลอดเวลาหรือเปล่า ถ้าเราพิจารณาดูเขาก็ไม่ได้อยู่ในตัวตลอดเวลา เดี๋ยวก็แว็บไปที่โน่น เดี๋ยวแว็บไปที่นี่ ได้ยินเสียงก็แว็บไป ที่เสียง เห็นภาพก็แว็บไปที่ภาพ อยู่ ๆ ก็นั่งหลับตาไม่ได้ยินเสียง ไม่มีอะไรก็คิดไปถึงเรื่องโน้นเรื่องนื้ แว็บ ไป แว็บมา แว็บไปรู้ที่โน่น แว็บไปรู้ที่นี่ ถามว่าจิตที่ทาหน้าที่รู้กับตัวที่นั่งอยู่ เขาเป็นส่วนเดียวกันหรือคนละ ส่วนกัน นั่นคืออย่างหนึ่ง เราแยกอะไร พระพุทธเจ้าถึงตรัสว่า รูปขันธ์คือร่างกาย คือรูปที่นั่งอยู่นี่นะ เป็น ขันธ์ ๆ หนึ่ง ตัวจิตที่ทาหน้าที่รู้ก็เป็นอีกขันธ์ ๆ หนึ่ง เรียกว่า วิญญาณขันธ์
เพราะฉะนั้นวิญญาณขันธ์ไปที่โน่นไปที่นี่ รูปนี้ยังนั่งที่เดิมอยู่เลย นั่นคือจิตที่ทาหน้าที่รู้ นี่คือเขา แยกกันแบบนี้ ถามว่าเป็นไปตามใจเราไหม มีอะไรที่บอกว่าเป็นของเรา...อันนี้อย่างหนึ่ง อีกอย่างหนึ่ง... ก็คือ เขาเรียกเวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ จัดเป็น ๓ ขันธ์ด้วยกัน เวทนาขันธ์คือความรู้สึกดี ไม่ดี รู้สึกสบาย รู้สึกสุข รู้สึกขุ่นมัว รู้สึกเศร้าหมอง รู้สึกทุกข์ รู้สึกเป็นสุข เป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้น เขาเรียก ว่าเวทนา เรียกว่าสุขเวทนา โสมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา ทุกขเวทนา โทมนัสเวทนา อย่างนี้เรียกว่าเวทนา ทางจิต เป็นเวทนาขันธ์อย่างหนึ่ง
และอกี อยา่ งหนงึ่ กเ็ ปน็ เวทนาทางกาย เปน็ เวทนาทางกายทอี่ าศยั รา่ งกายเกดิ ขนึ้ ซงึ่ เปน็ สงิ่ ทบี่ คุ คล หลีกเลี่ยงได้ยากเช่นกัน ก็คือความเจ็บ ความปวด ความเมื่อย อาการชา อาการคันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตาม ร่างกาย ไม่ว่าความเจ็บปวดเมื่อยชานั้นอาศัยเหตุใดก็ตาม นั่นก็คือเวทนา เรียกว่าเวทนาขันธ์ เป็นขันธ์ ๆ หนึ่งที่ทาหน้าที่ของตน
เมื่อมีรูปนามขันธ์ ๕ ก็ยังต้องทาหน้าที่ของตนอยู่ เพราะเป็นสิ่งที่อาศัยกัน แต่ก็ไม่ใช่เป็นแบบ เดียวกัน ถ้าไม่ใช่เป็นอันเดียวกัน เพราะอะไร ทาไมถึงไม่เรียกว่าเป็นอันเดียวกัน ไม่เป็นสิ่งเดียวกัน