Page 17 - สารสารสนเทศทางการศึกษาปี 2562
P. 17
3
การศึกษาระดับมัธยมศึกษา หมายถึง การศึกษาหลังประถมศึกษา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ช่วงตอน
คือ มัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลาย ใช้เวลาเรียนตอนละ 3 ปี สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย
จำแนกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ประเภทสามัญศึกษา และประเภทอาชีวศึกษา คือ หลักสูตรประกาศนียบัตร
วิชาชีพ (ปวช.) หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลปชั้นกลาง และหลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปชั้นกลาง
การศึกษาระดับอุดมศึกษา หมายถึง การศึกษาหลังมัธยมศึกษาตอนปลาย ได้แก่
ระดับอนุปริญญา หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง (ปวส.) หลักสูตรประกาศนียบัตรนาฏศิลปชั้นสูง และ
หลักสูตรประกาศนียบัตรศิลปชั้นสูง ระดับปริญญาตรี ซึ่งรวมหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครูเทคนิคชั้นสูง
(ปทส.) และระดับสูงกว่าปริญญาตรี คือ หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท ประกาศนียบัตรบัณฑิต
ชั้นสูง และปริญญาเอก
การศึกษานอกระบบ หมายถึง การศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ
วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลาของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของการสำเร็จ
การศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และ ความต้องการของ
บุคคลแต่ละกลุ่ม
นักเรียน/ผู้เรียน หมายถึง ผู้ที่ได้รับการศึกษาในสถานศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา
ระดับประถมศึกษา ระดับระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย และที่เทียบเท่า ทั้งนี้
รวมถึงการศึกษานอกระบบโรงเรียน
1.5 อักษรย่อที่ใช้ในเอกสาร
ศธภ.5 หมายถึง สำนักงานศึกษาธิการภาค 5
สพฐ. หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
สช. หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
สอศ. หมายถึง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
กศน. หมายถึง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
อปท. หมายถึง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
พศ. หมายถึง สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
ตชด. หมายถึง ตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
อว. หมายถึง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
สพป. หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา
สพม. หมายถึง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา