Page 22 - รายงานรูปแบบการนิเทศ64
P. 22
19
นำหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู (Sergiovanni, 1991) มาดัดแปลงเพื่อประยุกต์ใช้ในการ
พัฒนาครูให้สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจของครู
ในการทำงานประกอบด้วย 3 แนวทาง ดังนี้
1) ส่งเสริมให้มีอิสระในการปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
2) ให้การสนับสนุนช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่
3) ช่วยขจัดปัญหาอุปสรรคที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ดำเนินต่อไปได้
ซึ่งเป็นกระบวนการพัฒนาครูผ่านการแบ่งปันอำนาจหรือให้สิทธิเพื่อสร้างแรงจูงใจ ทำให้เกิดความ
มั่นใจและมีความกล้าที่จะตัดสินใจด้วยตนเอง (สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา, 2563) ซึ่งจาก 3
แนวทาง ของหลักการเสริมสร้างพลังอำนาจของครูในการทำงาน ทางโรงเรียนได้มีการประชุมโดยการ
ระดมความคิดจากทั้งผู้บริหารและครูผู้สอน เพื่อนำทั้ง 3 แนวทางมาประยุกต์ใช้ในการนิเทศการสอน
ภายในสถานศึกษา ซึ่งเป็นการช่วยเหลือและพัฒนาครูไปพร้อม ๆ กัน ประกอบไปด้วย
1) Freedom คือ การให้อิสระครูในการขอรับการนิเทศ ครูสามารถเป็นผู้เลือก คาบ/วัน/
เดือน/ปี/เพื่อนครูผู้สังเกตการสอน/คณะกรรมการ/สถานที่/รูปแบบ ได้ด้วยตนเอง
2) Friendly คือ ให้การนิเทศในรูปแบบกัลยาณมิตรระหว่างผู้บริหารและครูผู้สอน
3) Feedback คือ ให้ผลการนิเทศแก่ครูผู้สอนทันทีทั้งในรูปแบบการให้คะแนน และ
ข้อเสนอแนะจุดเด่น/จุดพัฒนา เพื่อสามารถนำไปใช้พัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้ทันท่วงที