Page 29 - การพัฒนามาตรฐานคุณภาพโคขุน
P. 29

23
                     3. พื้นคอก




                     3.1พื้นคอกโคขุนสามารถเทคอนกรีตทั้งหมดได้ก็เป็นการดี เพราะจะสามารถ

          แก้ปัญหาเรื่องพื้นคอกเป็นโคลนในฤดูฝนได้ แต่ต้องการประหยัดก็อาจจะเทคอนกรีต
          เฉพาะพื้นคอกส่วนที่อยู่ใต้หลังคาก็ได้ หากพื้นคอกส่วนใต้หลังคาเป็นดินจะมีปัญหาเรื่อง

          พื้นเป็นโคลน ไม่ว่าจะเป็นฤดูแล้งหรือฤดูฝน

                     3.2พื้นคอนกรีตหนา 7 ซ.ม. โดยไม่ต้องผูกเหล็ก สามารถรับนํ้าหนักโคขุนได้
          สําหรับฟาร์มขนาดใหญ่ถ้าต้องการให้รถแทรกเตอร์ (รถไถ) เข้าไปในคอกได้ จําเป็น

          จะต้องเทคอนกรีตให้หนา 10 ซ.ม. และผูกเหล็กหรือไม้รวกก็ได้

                     3.3ผิวหน้าของพื้นคอนกรีต ควรทําให้หยาบโดยใช้ไม้กวาดมือเสือครูดให้เป็น

          รอย และพื้นคอกควรมีความลาดเอียงจากด้านหน้าลงด้านหลังคอกประมาณ 2-4%
          หรือทํามุมประมาณ 15 องศากับพื้นราบ เพื่อให้นํ้าล้างคอกและปัสสาวะไหลลงท้ายคอก
          ได้ง่ายขึ้น ท้ายคอกควรมีร่องนํ้ากว้างประมาณ 30 ซ.ม. พื้นรางลาดเอียงไปตามแนวที่

          ต้องการระบายนํ้าออกไป เมื่อพ้นแนวคอกควรทําทางหรือร่องนํ้าไห้ไหลไปใช้ในแปลง
          หญ้าได้ด้วย


                     3.4พื้นคอกส่วนใหญ่ที่เป็นคอนกรีตใต้หลังคา ควรจะปูด้วยวัสดุที่ซับความชื้น
          ได้ดี ได้แก่ แกลบ ขี้กบ ขี้เลื่อย ฟาง หรือซังข้าวโพด เป็นต้น ข้อดีก็คือทําให้โคไม่ลื่น ไม่

          จําเป็นต้องทําความสะอาดคอกทุกวัน อีกทั้งมูลโคพร้อมวัสดุรองพื้นนี้นับว่าเป็นปุ๋ ยหมัก
          อย่างดีสําหรับแปลงหญ้า การเปลี่ยนวัสดุรองพื้นคอกควรทํา 1-2 ครั้งต่อเดือน ในฤดู

          ฝนและประมาณ 3 เดือน ต่อครั้งในฤดูแล้ง แกลบ 1 ลูกบาศก์เมตรสามารถปูพื้นคอกได้
          10-12 ตารางเมตร (หนาประมาณ 7 ซ.ม.) หรือแกลบ 1 กระสอบป่ าน ใช้ปูพื้นได้ 2
          ตารางเมตร พื้นคอกส่วนที่เป็นพื้นดินหรือส่วนที่อยู่นอกหลังคาไม่จําเป็นต้องมีวัสดุรอง

          พื้น

                     3.5 ควรทําบ่ากั้นแกลบไม่ให้ไหลจากส่วนใต้หลังคาคอนกรีตไปยังส่วนที่เป็น

          พื้นดิน

                     3.6 การปูวัสดุรองพื้นนี้อาจจะไม่จําเป็นเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

          ของแต่ละบุคคล ผู้เลี้ยงโคขุนบางรายนิยมการล้างทําความสะอาดพื้นคอกทุกวัน ซึ่ง
          ได้ผลดีเช่นเดียวกัน แต่สิ้นเปลืองแรงงานค่อนข้างมาก จากประสบการณ์สรุปว่าในฤดู
          แล้งควรใช้วิธีปูวัสดุรองพื้น ส่วนในฤดูฝนควรใช้วิธีทําความสะอาดคอกทุกวัน


                     3.7 มีผู้ทดลองใช้ซีเมนต์บล็อคเป็นพื้นคอกโคขุนแทนการเทคอนกรีต ปรากฎ
          ว่าไม่สามารถทนนํ้าหนักโคได้ แต่ถ้าเป็นซีเมนต์บล๊อคที่สั่งอัดพิเศษโดยใส่ส่วนผสม

          ปูนซีเมนต์ลงไปมากกว่าปกติ จะสามารถใช้ปูเป็นพื้นคอกโคขุนได้
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34