Page 85 - EBOOK-semifinal_Neat
P. 85
การเคลื่อนที่ของประจุในสนามแม่เหล็ก
ถ้าอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้าอยู่ในสนามแม่เหล็ก พบว่าถ้าประจุอยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ขนานกับทิศ
ของสนามแม่เหล็กจะไม่มีแรงกระทำจากสนามแม่เหล็ก แต่ถ้าให้เคลื่อนในแนวทำมุมใด ๆ ที่ไม่ขนาน
กับทิศของสนามแม่เหล็กจะมีแรงกระทำจากสนามแม่เหล็กทันที และเรียกแรงนี้ว่า แรงแม่เหล็ก หรือ
แรงลอเรนซ์
แรงจากสนามแม่เหล็กนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของอนุภาคที่มีประจุไฟฟ้า สามารถสรุปความ
สัมพันธ์ของแรงจากสนามแม่เหล็กจากการศึกษาของ เฮนดริก อันโตน ลอเรนซ์
การหาขนาดของแรงที่กระทำต่ออนุภาค
1. เมื่อทิศความเร็วอนุภาคมีทิศตั้งฉากกับทิศสนามแม่เหล็ก (มุม 90
องศา) จะทำให้แรงที่กระทำต่ออนุภาคมีค่ามากที่สุด ( F = qvB )
2. เมื่อทิศความเร็วอนุภาคมีทิศทำมุมใดๆกับทิศสนามแม่เหล็กที่ไม่ตั้ง
ฉาก จะทำให้แรงที่กระทำต่ออนุภาคมีค่าลดน้อยลง
3. เมื่อทิศความเร็วอนุภาคมีทิศขนานกับทิศสนามแม่เหล็ก จะไม่มีแรง
ที่กระทำต่ออนุภาค
http://weerajit16.blogspot.com/p/blog-page_579.htm
อาจแยกพิจารณาการเคลื่อนที่ของประจุไฟฟ้าในสนามแม่เหล็กดังต่อไปนี้
1. ถ้าประจุวิ่งตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก มันจะเคลื่อนที่เป็นวงกลมซ้ำระนาบเดิม (รูป ก.)
2. ถ้าประจุวิ่งทำมุมกับสนามแม่เหล็ก จะทำให้มันเคลื่อนที่เป็นวงกลมเกลียว (helik) คล้ายขดลวดโซลินอยด์
3. ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่านบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก (รูป ข.)
4. ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ในสนามแม่เหล็กและ
สนามไฟฟ้าโดยเวกเตอร์ทั้งสามมีทิศตั้งฉากกัน
https://sites.google.com/site/stp62magnetandmagneticfield/home/krasae-fifa-thahi-
keid-snam-mae-helk/kar-kheluxnthi-khxng-xnuphakh-thi-mi-pracu-ni-snam-mae-helk
น.ส.มุทิตา มงคลกิจธำรง ม.6/3 เลขที่39
85