Page 59 - กรมศุลกากร ประจำปี 2562
P. 59
03
หมายเหตุที่ 3
มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐฉบับใหม่ และมาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐที่ปรับปรุงใหม่
มาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐ พ.ศ. 2561 ให้ถือปฏิบัติกับรายงานการเงินส�าหรับรอบระยะ
เวลาที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป
- หลักการและนโยบายการบัญชีภาครัฐ
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 1 เรื่อง การน�าเสนอรายงานการเงิน
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 3 เรื่อง นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 5 เรื่อง ต้นทุนการกู้ยืม
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 12 เรื่อง สินค้าคงเหลือ
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 13 เรื่อง สัญญาเช่า
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 14 เรื่อง เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในรายงาน
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 16 เรื่อง อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 17 เรื่อง ที่ดิน อาคาร และอุปกรณ์
- มาตรฐานการบัญชีภาครัฐ ฉบับที่ 31 เรื่อง สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
- นโยบายการบัญชีภาครัฐ เรื่อง เงินลงทุน
ฝ่ายบริหารเชื่อว่ามาตรฐานการบัญชีภาครัฐและนโยบายการบัญชีภาครัฐฉบับใหม่ข้างต้นจะไม่มีผลกระทบอย่างเป็น
สาระส�าคัญต่องบการเงินในงวดที่น�ามาถือปฏิบัติ
หมายเหตุที่ 4 สรุปนโยบายการบัญชีที่ส�าคัญ
4.1 เงินสดและรำยกำรเทียบเท่ำเงินสด
- เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด หมายถึง เงินสดในมือ เงินฝากสถาบันการเงิน เงินฝากคลัง เงินทดรองราชการ
บัตรภาษี และรายการเทียบเท่าเงินสดอื่น
- บัตรภาษี หมายถึง บัตรรูปแบบหนึ่งที่ถือเสมือนเงินสดที่รัฐออกให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามพระราช
บัญญัติชดเชยค่าภาษีอากรสินค้าส่งออกที่ผลิตในราชอาณาจักร พ.ศ. 2524 เงินค่าภาษีอากร ที่ได้รับด้วยบัตรภาษีจะบันทึกรับ
ไว้ในบัญชีบัตรภาษี และบันทึกลดยอดเมื่อได้น�าส่งบัตรภาษีที่ได้รับไว้ให้กับกรมศุลกากร ซึ่งเป็นหน่วยงานผู้ออกบัตรภาษีดังกล่าว
- การออกบัตรภาษีเป็นภาระผูกพันที่รัฐบาลจะต้องชดเชยค่าภาษีให้แก่ผู้ส่งออกที่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร
โดยบันทึกรับรู้เป็นหนี้สินและค่าใช้จ่าย ตามหมายเหตุที่ 4.9
- พักเงินสดรับ เป็นเงินที่หน่วยงานรับช�าระค่าภาษีอากรและรายได้ประเภทอื่น ๆ โดยรับไว้เป็น เงินสด เช็ค หรือดร๊าฟ
และน�าส่งข้อมูลเข้าระบบ GFMIS โดยการเชื่อมโยงข้อมูล (Interface)
- เงินทดรองราชการ เป็นเงินที่หน่วยงานได้รับจากรัฐบาล เพื่อทดรองจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายปลีกย่อย ในการด�าเนินงาน
ของหน่วยงานตามวงเงินที่ได้รับอนุมัติ และต้องคืนให้รัฐบาลเมื่อหมดความจ�าเป็นในการใช้เงิน แสดงไว้เป็นเงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสด ซึ่งมียอดตรงกันข้ามกับรายการเงินทดรองราชการรับจากคลังภายใต้หัวข้อหนี้สินไม่หมุนเวียน
- เงินฝากธนาคารเพื่อน�าส่งคลัง เป็นเงินที่หน่วยงานรับช�าระค่าภาษีอากรและรายได้ประเภทอื่น ๆ โดยรับไว้ด้วยบัตร
อิเล็กทรอนิกส์ หรือรับเงินโอนผ่านธนาคาร (e-Payment) และน�าส่งข้อมูลเข้าระบบ GFMIS โดยการเชื่อมโยงข้อมูล (Interface)
- เงินฝากคลัง เป็นเงินที่ฝากไว้กับกระทรวงการคลังภายใต้ข้อก�าหนดตามกฎหมาย โดยไม่มีดอกเบี้ย ซึ่งสามารถเบิก
ถอนได้เมื่อต้องการใช้จ่ายตามที่ก�าหนด
THE CUSTOMS DEPARTMENT ANNUAL REPORT 2019 63