Page 16 - CPS_Report_2564_kalasin
P. 16
สรุปกิจกรรมสำคัญ/ผลงานโดดเด่นที่เกิดจากการเข้าแนะนำส่งเสริม พัฒนา และกำกับดูแลสหกรณ์/
กลุ่มเกษตรกร ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564
โครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นาของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2
1. หลักการและเหตุผล
เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า “น้ำ” เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของการผลิตทางเกษตรกรรม ที่จะ
สร้างโอกาสในการผลิตของเกษตรกร หากเกิดการขาดแคลนน้ำ จะส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงต่อผลผลิตของ
่
์
เกษตรกร โดยช่วงระยะเวลาตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา ประเทศไทยเกิดวิกฤตจากน้ำ ทั้งเหตุการณน้ำท่วมในชวง
ฤดูน้ำหลาก และขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เป็นผลกระทบแบบลูกโซ่ คือการบริหารจัดการน้ำในระบบ
ชลประทานทั้งระบบไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศในเหตุการของเอลนีโญ (El nino)
ี
และลานีญา (La nina) ได้อย่างมีระบบ กล่าวคือ เอลนีโญ ทำให้เกิดฝนตกหนักในตอนเหนือของทวปอเมริกาใต้
และความแห้งแล้งในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และ ลานีญา ทำให้เกิดความแห้งแล้งในตอนเหนือของทวีปอเมริการ
ใต้ และฝนตกหนักในเอเชียตะวนออกเฉียงใต้ ดังนั้น ในปี 2558 ต่อเนื่องถึงปี 2559 รัฐบาลจึงมีมาตรการจัดการ
ั
น้ำชลประทานเพื่อการบริโภคและอุปโภค และการรักษาสภาพแวดล้อมของแม่น้ำ โดยเฉพาะการรักษาระดับ
ความเค็มของน้ำทะเลที่หนุนสูงขึ้น ส่งผลกระทบอย่างรุ่นแรงในระบบนิเวศวิทยาของแม่น้ำ จึงต้องออกมาตรการ
ควบคุมให้เกษตรกรเปลี่ยนแปลงระบบการผลิต หรือปรับเปลี่ยนไปเพาะปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย หรือบางพื้นที่ต้อง
หยุดการผลิต ทำให้ระบบเศรษฐกิจด้านการเกษตร ทั้งการจำหน่ายปัจจัยการผลิต การลงทุน และผลผลิตที่คาดว่า
จะได้รับชะงัก เกษตรกรสูญเสียรายได้จากการให้ความร่วมมือตามนโยบายรัฐบาล ทั้งการเลื่อนระยะเวลาการ
เพาะปลูก ปรับเปลี่ยนชนิดพืชจนถึงขั้นการหยุดการผลิต เพื่อตอบสนองการบริหารจัดการน้ำชลประทาน และ
แหล่งน้ำธรรมชาติมาตรการภัยแล้ง
จากแนวคิดเดิมที่เกษตรกรพึ่งพาระบบน้ำชลประธาน และแหล่งน้ำธรรมชาติ เพื่อทำการเกษตร
นายกรัฐมนตรีได้ให้แนวคิดในการบริหารจัดการน้ำเพื่อการเกษตรในระดับไร่นาแบบใหม่ คือเน้นให้เกษตรกรแต่ละ
ราย ต้องมีการพัฒนาพื้นที่ของตนเองให้มีระบบสำรองน้ำเพื่อการเกษตรไว้ใช้ในเหตุฉุกเฉิน โดยเริมขุดสระกักเก็บ
น้ำไว้ใช้ในไร่นา หรือขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลไว้ใช้ทดแทนน้ำชลประทานในบางช่วงที่เกิดการขาดแคลนน้ำเพื่อ
การเกษตร ซึ่งจะเกิดระบบชลประทานในระบบไร่นาในลักษณะของสระเก็บกักน้ำฝนระบบย่อยๆ อย่างพอเพียง
ิ
ในแต่ละฟาร์มของเกษตรกร รวมทั้งสามารถนำระบบน้ำใต้ดน ซึ่งเป็นระบบสำรองตามธรรมชาติจากการขดเจาะ
ุ
บ่อบาดาล จึงคาดว่าจะทำให้แก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำแล้งได้อย่างเป็นระบบ
สำนักงานสหกรณ์จังหวัดกาฬสินธุ์ จึงจัดทำโครงการสนับสนุนเงินทุนเพื่อสร้างระบบน้ำในไร่นา
์
ของสมาชิกสถาบันเกษตรกร ระยะที่ 2 โดยให้สหกรณ/กลุ่มเกษตรกร เป็นแหล่งรับเงินทุนหมุนเวยน เพื่อนำไป
ี
ี
สนับสนุนเงินกู้แก่สมาชกในการใช้เป็นเงินลงทุนหมุนเวยนเพื่อการลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำในแปลงไร่นาของตนเอง
ิ
อย่างเป็นระบบ สร้างโอกาสในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรกร ลดความเสี่ยงจากการใช้น้ำชลประทาน
และแหล่งน้ำธรรมชาต ิ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562ร