Page 28 - PPH1test33
P. 28

หากผู้ทําคลอดไม่มีความชํานาญในการทําคลอดรกโดยวิธี Controlled Cord

          Traction สามารถทําคลอดรกโดย วิธี


          1. Modified Crede’s Maneuver

          2. Brandt Andrew Maneuver






          กลไกการลอกตัวของรก (Placenta Separation)







                รกลอกตัวได้โดยอาศัยการหดรัดตัว
                รกลอกตัวได้โดยอาศัยการหดรัดตัว (Contraction) และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆของกล้ามเนื้อ(Contraction) และคลายตัว (Retraction) เป็นระยะๆของกล้ามเนื้อ
         มดลูกส่วนบน ภายหลังทารกคลอดออกมา ทําให้ผนังมดลูกหนาขึ้นและโพรงมดลูกจะมีขนาดเล็กลงมาก ในขณะที่

         รกยังมีขนาดเท่าเดิมทําให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างพื้นที่ของรก  และพื้นที่ของผนังมดลูก  เป็นผลให้เกิดการดึงรั้ง

         และฉีกขาดของหลอดเลือดที่ผนังมดลูกบริเวณที่รกเกาะ  เลือดจะไหลซึมอยู่ข้างหลังรก  เรียกว่า  Retroplacental

         bleeding  การลอกตัวของรกส่วนใหญ่จะเริ่มต้นตรงกลางรก  แต่มีบางรายที่อาจลอกที่ริมล่างของรกก่อนก็ได้การ

         ลอกตัวนั้นเกิดที่ชั้น Spongiosa และ Decidua เมื่อมดลูกหดตัวต่อไปเรื่อยๆจะทําให้รกลอกตัวออกจากผนังมดลูก

         และเลื่อนจากมดลูกส่วนบนลงมาที่มดลูกส่วนล่าง และลงมาอยู่ในช่องคลอด น้ําหนักของรกจะถ่วงให้มีเยื่อหุ้มทารก

         ค่อยๆแยกตัวออกจาก Decidua และมีถูกขับตามออกมาจนในที่สุดรกจึงมีการลอกตัวอย่างสมบูรณ์ เมื่อรกลอกตัว

         และคลอดออกมาบริเวณผนังมดลูกส่วนที่รกเกาะจะเป็นแผลและมีเลือดออก  ร่างกายจะมีกลไกการควบคุมการตก

         เลือดจากแผลที่เกิดจากบริเวณที่รกลอกตัวโดยกล้ามเนื้อยังคงมีการหดรัดตัวและคลายตัว  เป็นการห้ามเลือดตาม

         ธรรมชาติ  เพราะการตัวตัวของกล้ามเนื้อมดลูกจะบีบ  เส้นเลือดที่แทรกอยู่ระหว่างกล้ามเนื้อส่วนที่รกลอกตัวให้ตีบ

         แคบลงทําให้เลือดหยุดไหล และอีกกลไกหนึ่ง คือ การแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดชนิดของการลอกตัวของรก แบ่ง

         ออกได้เป็น 2 ชนิด คือ






















        28  |
        28  |  KINDA MGZTEAMWORK MODEL By SIKAO HOSPITAL
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33