Page 3 - บทที่5-60
P. 3
เนื้องอก
(NEOPLASMS)
บทน า
การวินิจฉัยพยาธิสภาพของเนื้องอกทางระบบประสาทจะต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยซึ่งเป็น
ข้อมูลที่ส าคัญจากนั้นจึงท าการตรวจร่างกายเพื่อยืนยันความผิดปกติดังกล่าว ผู้ป่วยที่มีปัญหาของเนื้องอก
ทางระบบประสาทสามารถมาด้วยอาการและอาการแสดงที่แตกต่างกันออกไปตั้งแต่ไม่พบอาการผิดปกติ
จนถึงมีภาวะแทรกซ้อนของเนื้องอกชนิดนั้นๆ เนื้องอกทางระบบประสาทสามารถพบได้ทุกเพศและทุกวัยใน
อุบัติการณ์ที่แตกต่างกันส่วนอาการและอาการแสดงทางระบบประสาทจะขึ้นกับต าแหน่งของเนื้องอก การ
ตรวจวินิจฉัยทางจุลพยาธิวิทยาจะท าให้สามารถทราบความผิดปกติและให้การวินิจฉัยเนื้องอกแต่ละ
ประเภท เพื่อให้ได้การวินิจฉัยที่ถูกต้องมากที่สุดในผู้ป่วยเป็นรายๆ ไป
เนื้อหา
ทฤษฎีการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง
มีหลายแนวคิดและทฤษฎีของการเกิดเนื้องอกหรือมะเร็ง แต่ที่ยอมรับโดยส่วนใหญ่เกิดจากการมี
ปฏิกิริยาระหว่างสารก่อมะเร็ง (Carcinogens) และการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางพันธุกรรม (Genes)
ภายในเซลล์หรือดีเอ็นเอ เป็นผลให้ยีนนั้นเกิดการเปลี่ยนแปลง อาจเกิดร่วมกับการได้รับปัจจัยส่งเสริม
(Promoters) ซึ่งสามารถกระตุ้นให้เซลล์ที่มีความผิดปกติดังกล่าวเกิดการแบ่งตัวเพิ่มจ านวนมากขึ้น จะเห็น
ว่าขั้นตอนการเกิดมะเร็งนั้นมีหลายขั้นตอนเริ่มตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงของสารพันธุกรรมจนเกิดความ
ผิดปกติในระดับโมเลกุล ได้แก่ การเพิ่มขนาดและจ านวนของเซลล์ จนท าให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง
จากเซลล์ธรรมดาจนกลายเป็นมะเร็งและอาจมีการลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ของร่างกายในที่สุด
ยีนที่เกี่ยวข้องกับการเกิดมะเร็ง มี 2 กลุ่ม ได้แก่
1) ยีนก่อมะเร็ง (Oncogene) หมายถึง ยีนที่ผิดปกตินั้นท าหน้าที่เพิ่มมากขึ้นจนกลายเป็นเซลล์มะเร็ง
2) ยีนต่อต้านมะเร็ง (Tumor suppressor gene) หมายถึง ยีนที่ท าหน้าที่ยับยั้งการเจริญเติบโตและการ
เพิ่มจ านวนของเซลล์ ซึ่งหากยีนนี้ผิดปกติก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดมะเร็งได้
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560