Page 13 - บทท2 60-1_Neat
P. 13
ลักษณะทางคลินิกที่พบบ่อยในทารกที่มีภาวะ Hydrocephalus ได้แก่ รูปร่างของศีรษะโตผิดปกติ
เมื่อเทียบกับตัวเด็ก มีหน้าผากนูนเด่นชัดกว่าปกติ หนังศีรษะบาง มีการขยายใหญ่ของหลอดเลือดด าบน
หนังศีรษะ กระหม่อมหน้ามีขนาดใหญ่และตึง มีความผิดปกติของต าแหน่งลูกตาทั้งสองข้างในลักษณะมอง
ลงล่าง เรียกว่า sunset eye ดังรูปที่ 7 นอกจากนี้อาจพบว่ามีความผิดปกติของระบบประสาทร่วมด้วย เช่น
กล้ามเนื้อแขนขาเกร็ง รีเฟลกซ์ไว อาการซึม อาเจียน เป็นต้น การตรวจวินิจฉัยทางรังสีวินิจฉัยของภาวะ
hydrocephalus พบว่ามีการขยายขนาดของช่อง ventricle ดังรูปที่ 8
รูปแสดงภาพ Hydrocephalus จะสังเกตว่าตามีลักษณะเฉพาะที่เรียกว่า sunset eye
แหล่งที่มา http://www.funscrape.com
รูปแสดงภาพทางรังสีวินิจฉัยของภาวะ hydrocephalus (ซ้าย) เมื่อเทียบกับสมองปกติ (ขวา)
แหล่งที่มา http://de.wikipedia.org/wiki/Hydrocephalus
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560