Page 15 - บทท2 60-1_Neat
P. 15
ระยะที่ 3 ระยะหลังคลอด (postnatal period) ซึ่งมีสาเหตุได้แก่ ภาวะสมองทารกขาดออกซิเจน
การติดเชื้อของทารก เช่น โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ โรคสมองอักเสบ หรือการเกิดอุบัติเหตุที่ท าให้มี
ภยันตรายต่อสมองของทารก เช่น กะโหลกร้าวหรือมีเลือดออกในสมอง เป็นต้น พยาธิสภาพ มักพบความ
ผิดปกติได้ตั้งแต่ก่อนอายุ 1 ปี สังเกตได้จากเด็กจะมีท่านอนที่ผิดปกติจากกล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีอาการ
เกร็ง ผู้ป่วยมักจะมีพัฒนาการที่ไม่เป็นไปตามวัยความผิดปกติทางกล้ามเนื้อที่พบอาจมีได้หลายลักษณะ
โดยกล้ามเนื้อจะมีความตึงตัวมากผิดปกติท าให้มีอาการเกร็งร่วมกับมีลักษณะท่าทางที่ผิดปกติของร่างกาย
ปรากฏให้เห็นได้หลายรูปแบบ ดังรูปที่ 9
รูปแสดงลักษณะของอาการสมองพิการ แหล่งที่มา http://www.childortho.com
ปัญหาและความผิดปกติด้านอื่นๆ ที่พบ ได้แก่ ภาวะปัญญาอ่อน (mental retardation) โดยมีระดับ
สติปัญญาต่ ากว่าปกติตั้งแต่ระดับปานกลางถึงรุนแรง นอกจากนี้ยังมักจะมีปัญหาร่วมอย่างอื่น เช่น การ
มองเห็น การได้ยิน การพูดและการรับรู้ภาษา รวมทั้งมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ขาดการกระตุ้นเนื่องจาก
มีความสามารถในการเคลื่อนไหวของร่างกายที่จ ากัด
การให้การดูแลรักษาผู้ป่วยนั้นควรได้รับการดูแลรักษาในทุกๆ ด้าน โดยอาศัยความร่วมมือของ
ผู้ป่วย ครอบครัวและทีมงานผู้ให้การรักษาแบบสหสาขาวิชาชีพร่วมกัน การดูแลรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ใน
ระยะแรกจะท าให้ผู้ป่วยมีพัฒนาการดีขึ้นได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับการมารับการรักษาเมื่อมีอายุมากขึ้นแต่ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคด้วย การรักษาได้แก่ การฝึกกายภาพบ าบัดตามลักษณะของความ
ผิดปกติและความรุนแรงของพยาธิสภาพ โดยมีจุดประสงค์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจาก
การผิดรูปของข้อต่อต่างๆ ของร่างกาย การกระตุ้นผู้ป่วยให้เกิดการเรียนรู้ในการเคลื่อนไหวที่ปกติ การใช้
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560