Page 3 - บทท2 60-1_Neat
P. 3
ความผิดปกติแต่ก าเนิด
(CONGENITAL DISORDERS)
บทน า
ความผิดปกติแต่ก าเนิด (Congenital disorder) เป็นความผิดปกติของการพัฒนาในด้านการ
เจริญเติบโต (developmental defect) ซึ่งเกิดจากความล้มเหลวของการเจริญเติบโตตามกระบวนการปกติ
อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างตามการเจริญเติบโตได้ตั้งแต่ในระยะตัวอ่อนจนถึงความ
ผิดปกติของทารกก่อนคลอดส่งผลให้เกิดความผิดปกติทางด้านโครงสร้างและหน้าที่การท างานซึ่งส่วนใหญ่
เกิดขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์เนื่องจากการพัฒนาโครงสร้างของระบบประสาทส่วนใหญ่จะอยู่
ในช่วงนี้ สาเหตุส่วนใหญ่ที่ท าให้เกิดความผิดปกติเกิดได้จาก ความผิดปกติทางพันธุกรรม ยา สารเสพติด
สารเคมีหรือสารพิษต่างๆ ความรุนแรงของความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยหลายระดับ
ความผิดปกติที่รุนแรงอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือรอดชีวิตเพียงไม่นานภายหลังการ
คลอดจนกระทั่งอาจท าให้เกิดความพิการที่หลงเหลือไปตลอดชีวิตได้ แม้ว่าความผิดปกติแต่ก าเนิดส่วน
ใหญ่ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แต่หากแพทย์มีแนวทางการประเมินผู้ป่วยอย่างเป็นระบบ การตรวจ
คัดกรองความผิดปกติตลอดจนให้ค าปรึกษาในโรคทางพันธุกรรมได้อย่างถูกต้องจะท าให้สามารถวาง
แผนการป้องกันได้อย่างถูกวิธีเพื่อเป็นการลดความทรมานของทารกจากภาวะวิกลรูปของร่างกายและ
หลีกเลี่ยงการเสียชีวิตจากความผิดปกติที่มีความรุนแรงได้ เนื้อหาในบทเรียนนี้จะกล่าวถึงภาพรวมของ
ความผิดปกติแต่ก าเนิดที่พบบ่อยทางระบบประสาท ได้แก่ ความผิดปกติท่อประสาท ภาวะน้ าคั่งในโพรง
สมอง โรคสมองพิการ รวมถึงสาเหตุอื่นๆ ที่ควรรู้
เนื้อหา
อุบัติการณ์
อุบัติการณ์การเกิดความผิดปกติแต่ก าเนิดทางระบบประสาทมีความแตกต่างกันไปในแต่พื้นที่
เนื่องจากได้รับปัจจัยและปัจจัยเสี่ยงที่แตกต่างกัน ความผิดปกติแต่ก าเนิดท าให้เกิดอัตราการเสียชีวิตของ
ทารกอย่างมีนัยส าคัญรองลงมาจากการเสียชีวิตจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การคลอดก่อนก าหนด การติดเชื้อ
หรือการเกิดภาวะแทรกซ้อนระหว่างการคลอด เป็นต้น ดังรูปที่ 1
สราวุธ สุขสุผิว_ภาคการศึกษาที่ 3/2560